การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน

Main Article Content

รุ่งทิวา กองสอน

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี และ 2) ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนปงพัฒนาวิทยาคม จังหวัดพะเยา จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหา ดำเนินการตามแผนการวิจัยกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที (Paired-Samples T-Test)

               ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่พัฒนาขึ้น เป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ สืบค้น แก้ปัญหา สะท้อนคิด สร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และนำไปปฏิบัติจริง มีประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 80.84/84.91 สำหรับผลการประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน จากการวิเคราะห์โจทย์สถานการณ์ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน 3.00 อยู่ระดับมาก หลังเรียน 3.97 อยู่ระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการประเมินระหว่างดำเนินการศึกษาตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (  =3.83, S.D. = 0.14)

Abstract

               This research aims to: 1) Develop chemistry learning activity and 2) Promote students’ Problem Solving Thinking Skill according to Science-Technology-Society and Environment approach. The samples include 38 grade 6 high school students in second semester of academic year 2012 from PongPhattana Wittayakom School, Phayao. The tools applied in the research include chemistry learning activity plan according to Science-Technology-Society and Environment approach and problem solving thinking skill evaluation. Pre-test and post-test research plan was conducted on single group. The data was analyzed using mean, standard deviation, percentage and paired samples t-test.

               The result showed that developed chemistry learning activity plan according to Science-Technology-Society and Environment for promoting students’ problem solving thinking skill was learning management plan consisting of 6 steps, including searching, solving, reflecting, creating and exchanging experience leading to practice. The result of the effectiveness measurement of the instructional model found that the effectiveness of the procedure (E1) of the model is 80.84 % and the effectiveness of the product (E2) of the model is 84.91 %. About an evaluation on students’ problem solving thinking skill, from analysis of situation before and after study, the mean before study was 3.00, which was at high lever, and after study was at 3.97, which was at highest level. The students had higher problem solving thinking skill level than before study at significance level of .01. About an evaluation during the study according to learning management plan, the students had highest evaluation result (  = 3.83, S.D. = 0.14).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ