การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 6 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม จำนวน 30 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายใช้เวลาในการทดลอง 4 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนและ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าสถิติที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้
1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา มีค่าเท่ากับ 80.00/83.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77
Abstract
The purposes of this research were : 1) to develop a computer assisted instruction on “Khun chang Khun phaen : Khun chang dedicate the petition” for Mathayomsuksa 6 students ;2) to compare the students’ learning achievement before and after using the computer assisted instruction and 3) to study the students’ attitudes toward the CAI lesson. The samples are 30 Mathayomsuksa 6 students of Kubyaiwongkusonkitpittayakom school, as the result of the simple random sampling. The research demonstrating 4 hours.
The instrument used for gathering data were comprised of : 1) CAI lessons on “Khun chang Khun phaen : Khun chang dedicate the petition” for Kubyaiwongkusonkitpittayakom 6 students ; 2) an achievement test, used as a pretest and posttest and 3) a questionnaire on the students’ opinions towards the CAI lessons The collected data were analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent, and content analysis.
The results revealed that:
1) The efficient of the CAI lessons on “Khun chang Khun phaen : Khun chang dedicate the petition” was 80.00/83.33 which met analysis the hypothetical criterion of 80/80.
2) The students’ achievement after using the CAI lesson was higher than before using the CAI lesson at the level of .01.
3) The students’ had the attitude toward the CAI program at the high level mean equal 4.30 and standard deviation equal 0.77