การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการทดลองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลโพธาราม

Main Article Content

วรรณา คุ้มเสาร์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ    1) พัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองเรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ3) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการทดลองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองเรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองเรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ

               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2555โรงเรียนอนุบาลโพธาราม  จำนวน30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling)

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ 3) บทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ  5) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการทดลอง 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1)  ประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลองเรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 80.22/80.87  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75  ที่ตั้งไว้

2)            ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการทดลองเรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ      ทางสถิติที่ระดับ .01

               4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก

Abstract

               The purpose of this research were to: 1) develop simulated multimedia lesson on material and properties of material of primary students grade 5 to the effectiveness criterion 75/75, 2) compare learning achievement result before and after studying of simulated multimedia lesson on material and properties of material, 3) compare science process observation and experimental skills studying with simulated multimedia lesson on material and properties of material, and 4) study student satisfaction towards simulated multimedia lesson on material and properties of material.

               The sample group in this research were 30 students in primary students grade 5 who enrolled in semester 2/2555 from Anubanphotharam School. They were selected by simple random sampling.

               The instruments of this research were: 1) the structured interview, 2) unit plan on material and properties of material, 3) simulated multimedia lesson on material and properties of material of primary students grade 5, 4) the quality assessment of simulated multimedia lesson on material and properties of material, 5) the learning achievement test on material and properties of material, 6) the science process observation and experimental skills evaluation form, and 7) questionnaires on student satisfaction towards simulated multimedia lesson on material and properties of material. The statistic procedures employed in the data analysis included mean, standard deviation, and t-test.

               The results of this research were as follows:

               1) The effectiveness of simulated multimedia lesson on material and properties of material of primary students grade 5was80.22/80.87which was higher than the criterion at 75/75

               2)  The learning achievement using simulated multimedia lesson on material and properties of material of primary students grade 5was statistically significant higher than before learning at 0.01 levels.

               3)  The science process observation and experimental skills was statistically significant higher than before learning at 0.01 levels.

               4)  The student satisfaction towards simulated multimedia lesson on material and properties of material of primary students grade 5was high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ