การพัฒนาแบบสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาแบบสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มีข้อบ่งชี้ว่าเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จากการใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานของสมาคมโรคเบาหวานอเมริกา ในอำเภอกันทรารมย์ จำนวน 500 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ที่ผู้วิจัยนำเครื่องมือของ Blue and Marrero (2006) มาแปล และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย ลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 38 ข้อ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen (1991) เป็นกรอบในการกำหนดองค์ประกอบความเชื่อของแบบสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (SPSS) วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรมริสเรล 8.80 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยหลักปรากฏว่า 1) แบบสำรวจสำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การคล้อยตามกลุ่มที่จะรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และการรับรู้ว่าสามารถควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ 2) โมเดลความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 15.31 ที่องศาอิสระ(df) เท่ากับ 10 ค่า p เท่ากับ .12 ค่า GFI เท่ากับ .99 ค่า AGFI เท่ากับ .97 ค่า CFI เท่ากับ 1 ค่าSRMR เท่ากับ .02 และค่า RMSEA เท่ากับ .03
Abstract
The objectives of this research were to (1) develop the Healthful Eating Belief Survey for Persons at Risk of Diabetes; (2) validate a belief model using in the survey with empirical data. A sample composed of 500 adults, with the age of 20 years and over and living in Kanthararom District, who were identified as persons at risk of type II diabetes based on results of the American Diabetes Association diagnosis form, Derived from a Systematic Random Sampling. The Healthful Eating Belief Survey for Persons at Risk of Diabetes instruments were used in the research. The researcher developed the instruments of Blue and Marrero (2006) to suit the context of Thailand. Using five-level Likert scale of 38 items, The theory of planned behavior of Ajzen (1991) was used a framework to determine the belief of the survey. To analyze descriptive statistics and confirmatory factor analysis SPSS and LISREL 8.80 were used, respectively. The major findings were as follows: 1) The Healthful Eating Belief Survey for Persons at Risk of Diabetes consisted of three factors: Attitude toward Healthful Eating Behavior, Subjective norm to Healthful Eating, and Perceived behavioral controllability for Healthful Eating. 2) The model of Healthful Eating Belief was found consistent with the empirical data. Chi-square goodness of fit test = 15.31, df = 10, p = .12, GFI = .99, AGFI = .97, CFI = 1, SRMR = .02 and RMSEA = .03