การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ.
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. 3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ.
ในการศึกษาได้ดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงาน ก.พ. จำนวน 250 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) สำหรับการทดสอบสมมติฐานการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการหาค่าไคสแควร์ (Chi – Square Test) และหาทิศทางความสัมพันธ์จากการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Gamma ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการศึกษาวิจัยสรุปคือ 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ.
ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงาน และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน การปกครองบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และค่าตอบแทนและสวัสดิการ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. ได้แก่ หน่วยงานควรมีการชี้แจงถึงสิทธิประโยชน์ในการครองตนเป็นข้าราชการ สำนักงาน ก.พ. โดยการจัดทำ “เส้นทางความก้าวหน้า” ของแต่ละตำแหน่งงาน และระยะเวลาการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงาน (Rotation) เพื่อให้ข้าราชการมีจุดมุ่งหมายในการที่จะทุ่มเทความรู้ความสามารถในการทำงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับงาน หน่วยงานควรมีการสร้าง “ระบบการสอนงาน” โดยให้ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น (Role model) เป็นผู้สอนงานให้กับข้าราชการ และควรมีนโยบายด้านกิจกรรมสัมพันธ์กับข้าราชการอย่างชัดเจน เช่น การจัด “Lunch talk” เพื่อให้ข้าราชการทุกระดับได้มีการพบปะสังสรรค์ สร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน รวมทั้งหน่วยงานควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้ปรับเปลี่ยนสายงานเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน โดยการสนับสนุนทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม เป็นต้น
Abstract
This study has aims to study level of staff commitment in work of personnel at Civil Service Commission , to study factor related to staff commitment and to propose guidelines to strengthen staff commitment. Sampling group in the study was Personnel of Civil Service Commission for 250 persons, used a set of questionnaire as a tool to collect date. Statistics used in quantitative analysis were frequency, percentage and comparing staff commitment level by hypothesis testing with Chi-square test and measure the relationship between variables with Gamma at significant level of 0.05.
The findings are : staff commitment level in work of personnel at Civil Service Commission were at high level. Factors related to the staff commitment with significant level of 0.05 were duration of work, nature of work, policy and administration, supervision, relationship with colleagues, work environment income and fringe benefits.
Recommendations from the study are : organization should declare about benefits in being an official at Civil Service Commission by doing “Career Path” for each position to lower age officials clearly. Organization should create “Coaching System” by selecting a role model to coach those officials. Organization should promote and provide an opportunity for general officials to change their path work to academic for more work progression including providing scholarships training fee to increase their work skill. Organization should have policy in strengthen relationship activities such as lunch talk so all officials can join and share their opinions or “Show and Share” activity so officials can share working experience.