การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเขียนความเรียงร้อยแก้ว โดยใช้แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูน วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

วาเลนไทม์ เอี้ยงชะอุ่ม

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแบบฝึกการเขียนความเรียงร้อยแก้ว  โดยใช้แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75   2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนความเรียงร้อยแก้วโดยใช้แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูนก่อนเรียนและหลังเรียน   3. ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้และแบบฝึกประกอบภาพการ์ตูน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/2   โรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย  (อนุกูลราษฎร์)  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสาคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2554  จำนวน  35  คน   โดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)

               เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูนการเขียนความเรียงร้อยแก้ว 2)  แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนความเรียงร้อยแก้ว  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเขียนความเรียงร้อยแก้ว 4)   แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้   โดยใช้แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า   t – test  แบบ   Dependent   และการวิเคราะห์เนื้อหาแบบ   Content  Analysis  ผลการวิจัยพบว่า

               1.  ประสิทธิภาพแบบฝึกจากการศึกษาผลสัมฤทธิ์การเขียนความเรียงร้อยแก้ว  โดยใช้แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  มีค่าเท่ากับ  60.08 / 76.61  เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน  75 / 75   ที่กำหนดไว้

               2.      ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเขียนความเรียงร้อยแก้ววิชาภาษาไทย  โดยใช้แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

            3.          นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกประกอบภาพการ์ตูนอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

               The purposes of this research were to develop a writing Achievement of Grade 7 students  using the cartoon illustration along with exercises The sample were 35 students from Grade 7 of Tetsabaan Baanmahachai (Anukoonrad) school, during the academic year 2011.  The  duration  of  the  experiment  covered  a  period  of  seven  weeks.

               The research instruments used in this study were  ;  1. The cartoon illustration exercises for eassy writing skill   2. The Lesson plans of eassy  writing skill  3. The achievement  test for eassy writing  skill  4. Questionnaire regarding of students' opinion with the cartoon illustration exercise.

               The  data  were  analyzed  by  using  mean,  standard  deviation,  t-test  dependent  and  content  analysis.

               The results of the research were:

               1)  The efficiency of  the prose writing skill using cartoon illustration exercises  for    Grade 7  students  which was higher than the 75/75 setting standard criterion. The prose writing skill  using cartoon illustration exercises in Thai language subject  for  Grade 7  students  which  was  75/75  standardized  efficiency  criteria.

               2)  The statistic criteria on prose writing achievement by using cartoon illustration exercises of Grade 7 students were significantly different at .05 level. which mean achievement after they had been studied was higher than before taking the experiment.

               3)  The students’ opinions toward leaning by prose writing exercises  was at higher level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ