การสร้างแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

สมทรัพย์ จิวประสาท

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนคอมพิวเตอร์ ตามแนวคิดของพาลอโม (Palormo.1974) 5 ด้านคือ ด้านภาษา ด้านเหตุผล ด้านการเรียงลำดับตัวอักษร ด้านจำนวน และด้านแผนภาพ และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือซึ่งประกอบด้วยค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 721 คน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling)

               ผลการวิจัยพบว่า     

               1. ค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.23-0.78  

               2. ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.31-0.90

               3. ค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.74-0.91

               4. ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างตรวจสอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อหาค่าสถิติจากทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนคอมพิวเตอร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า โมเดลแบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนคอมพิวเตอร์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในแต่ละด้านเป็นบวก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.97-1.00 โดยด้านจำนวนมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 1.00 รองลงมาคือ ด้านการเรียงลำดับตัวอักษร ด้านแผนภาพ ด้านภาษาและด้านเหตุผล 0.99, 0.98, 0.97 และ 0.97 ตามลำดับ และค่าไค-สแควร์ (c2) มีค่า 0.17 (p=0.68) เมื่อพิจารณาค่าสถิติ AGFI มีค่า 1.00 ค่า CFI  มีค่า 1.00 และค่าสถิติ RMSEA มีค่า 0.00 เป็นไปตามเกณฑ์ของความสอดคล้องกลมกลืน จึงพิจารณาได้ว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Abstract

               The main purposes of this research were to construct the computer aptitude test by using Jean Maier Palormo’s taxonomies. They were verbal meaning, reasoning, letter series, number ability and diagramming, and to inspect the quality of the test for difficulty index, discrimination index reliability and validity of the test. The participants of the study consisted of were 721 Matthayom III in 2nd semester of 2012, selected and they were by Two-Stage Random Sampling Technique.

               The results of the research were:

               1) Difficulties index of test ranged between 0.23-0.78

               2) Discriminations index of tests ranged between 0.31-0.90

               3) Reliability of Computer Aptitude tests were between 0.74-0.91  

            4) Construct Validity of test was confirmed by factor analysis to calculate the statistic from the test between the model fitted well and the empirical data of the computer aptitude test. Factors loading of test were between 0.97-1.00. The number ability was the highest 1.00 and letter series, diagramming verbal meaning and reasoning were 0.99, 0.98, 0.97 and 0.97 respectively. The goodness of fit measures for the model were c2 = 0.17, p=0.68, AGFI = 1.00, CFI = 1.00 and RMSEA = 0.00. Thus the model fitted well the empirical data.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ