การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต 0 เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วิสารัตน์ วงศ์ภูรี

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 4  พีชคณิต  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพจำนวน 2 ฉบับ เป็นแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องของ การแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 623 คน ของปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนเขตบางแค สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน การดำเนินการสร้างแบบทดสอบ เริ่มจากการสร้างแบบทดสอบสำรวจชนิดให้เติมคำตอบและให้แสดงวิธีทำเพื่อค้นจุดบกพร่องในการทำแบบทดสอบ หลังจากนั้นนำมาสร้างเป็นแบบทดสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยนำคำตอบที่นักเรียนส่วนใหญ่ตอบผิดในแบบทดสอบสำรวจมาสร้างเป็นตัวลวงแล้วนำไปทดสอบ 2 ครั้ง การทดสอบครั้งที่ 1 เพื่อการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อและคัดเลือกข้อสอบ ทดสอบครั้งที่ 2 เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบแต่ละฉบับ

            ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยทั้ง 2 ฉบับที่วัดเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ มีค่าความยากของแบบทดสอบตั้งแต่ 0.35–0.79  และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบตั้งแต่ 0.20–0.58 ส่วนค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแต่ละฉบับ ซึ่งคำนวณโดยใช้สูตรไบโนเมียลมีค่า 0.9289 และ 0.9197  สำหรับคะแนนจุดตัดของแบบทดสอบทั้งสองฉบับมีค่า 20

 

Abstract

               The purpose of this research was to construct a mathematical diagnostic test on the Algebra to Solve the Problems With Equation. The test comprised of 2 subtests: Algebra to Solve the Problems With Equation for students in Primary grade 6.

               The sample of 623 students were selected by Two–stage random sampling technique from Primary grade 6 students of the department of academic year 2013. The test construction included the survey test in the form of completing item for identify the errors from the response of students and the test for diagnostic in the form of multiple 

choices test with four alternative which obtained from the survey test. The diagnostic test was tried out two times, the first time was to find the items’ difficulty and discrimination index and to select the qualified items to form the test, the second time was to find the quality of the test.

            The result of the study revealed that the diagnostic test consisted of two subtests; Algebra to Solve the Problems With Equation, had the difficulty Index of each item ranged from 0.35 to 0.79, the discrimination index ranged from 0.20 to 0.58 and the reliabilities of each subtest calculated by the Binomial formula were 0.9289 and 0.9197, respectively. The cutting score of each subtest were 20.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ