การให้ความหมาย รูปแบบ และกลยุทธ์ การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท ดีเอชแอล (ประเทศไทย)

Main Article Content

จตุพร จุ้ยใจงาม

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้ความหมาย รูปแบบและกลยุทธ์ รวมถึงวิธีจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ของบริษัท ดีเอชเอล (ประเทศไทย) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โช้วิธีวิทยาการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมประจำปี 2553-2554 (DPDHL Corporate-Responsibility-Report-2010-2011) วารสาร บทความ และเอกสารทางวิชาการต่างๆ และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้แทนองค์กรในส่วนกิจกรรมสัมพันธ์ ส่วนมาตรฐานความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม สายงานบริหารยุทธศาสตร์องค์การ ดีเอชเอล ประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัย

               ผลการการศึกษาพบว่า บริษัทดีเอชเอล ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านหลักยุทธ์ศาสตร์การรับผิดชอบต่อชีวิต ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม (GoGreen) ด้านการบรรเทาสาธารณภัย (GoHelp) ด้านการศึกษา (GoTeach)  บริษัทฯ ได้ตระหนักในความเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการช่วยเหลือสังคมและพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมีที่มาจากการที่ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท      ดีเอชเอล ที่มีจิตใต้สำนึกในการตอบแทนสังคมและชุมชน โดยระลึกเสมอว่าบริษัท เป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้วยการใช้พลังงาน เชื้อเพลิงจากธรรมชาติ ในการขนส่งและมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากต้องการให้ธุรกิจมั่นคงแข็งแรงได้อย่างยั่งยืน บริษัทต้องคืนกำไรให้แก่สังคมและชุมชนด้วยความจริงใจ  ดีเอชเอล ใช้กลยุทธ์ ตามแนวนโยบายยุทธ์ศาสตร์หลักของกลุ่มบริษัทด๊อชเชอโพส ดีเอชเอล (Deutsche Post DHL) ได้แก่การเป็น ทางเลือกอันดับหนึ่งของลูกค้า (Customer of Choice) ทางเลือกอันดับหนึ่งของพนักงาน (Employee of Choice) และ ทางเลือกอันดับหนึ่งของนักลงทุน (Investor of Choice) สำหรับกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม        แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมตามแนวนโยบายที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารประจำภูมิภาค และการดำเนินกิจกรรมตามแนวนโยบายยุทธ์ศาสตร์หลักของกลุ่มบริษัท ฯ

 

Abstract

               The research has an objective for studies meaning, source of meaning, patterns, strategies, participation, problem and feedback of Corporate Social Responsibility Initiative within DHL Company. The qualitative research is using study the documentary those are books, articles, news, journals, documents, DPDHL Corporate-Responsibility-Report’s web site, and researches that concern Corporate Social Responsibility. An in-depth single case-study approach was adopted for this study. Using semi-structured interviews with managers, the research maps various strategic Corporate Social Responsibility activities from the European corporate centre across to activities within this Thai subsidiary’s. Analyzing the data by descriptive narrative approach.  

               The result found evidence of activities and issues around this subsidiary of Corporate Social Responsibility by selectively highlighting local initiatives and solutions that help address and contribute towards the global Corporate Social Responsibility strategic objectives. It describes some issues and opportunities around global policies and local activities that affect the subsidiary’s present scope for decision making and management accountability. Along with the issues and challenges from this loose fit tactic of bottom-up with top-down engagement, it highlights influential aspects of social, cultural and business management models and the interpretations, context and limitations of the subsidiary’s Corporate Social Responsibility contributions to date.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ