ผลการจัดการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ ในการทำงานร่วมกัน วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สุกัญญา จันทร์แดง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ 2) ศึกษาระดับความสามารถในการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล๔(รัตนโกสินทร์๒๐๐ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1  ห้องเรียน  จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 31 คน

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดการสอนแบบร่วมมือ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกัน ใช้ในการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบ t-test

   ผลการวิจัยพบว่า

   1. ผลการเรียนรู้ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

   2. ความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ มีพฤติกรรมในการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับ ดีมาก

   3. ความคิดของนักเรียนเห็นต่อการเรียนการสอนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือ อยู่ในระดับดีมาก

 

Abstract

     The purposes of this research were : 1) compare students’ learning achievement attained by co-operative's instructional package in Science subject of prathomsuksa 6 students 2)  study lever of the cooperative learning abilities of students using cooperative instructional package, and 3) study students opinions toward  co-operative’s in instructional package. The sample was 31 students of prathomsuksa 6/1 Tessaban 4 ( Rattanakosin 200 years) in the first semester of the academic year 2555, Nakhon panom.

The research instruments were: 1) the lesson plans, 2) instructional package the approach cooperative learning, 3) the learning achievement, 4) the assessment questionnaire of cooperative learning and 5) the questionnaire of students’ opinions about learning by instructional package. The collected data were analyzed by mean, standard deviation and t-test.

               The research finding were as follows: 1) the achievement of learning by using cooperative instructional package was significant at the level 0.05, 2) the level of  cooperative learning abilities of  prathomsuksa 6 students was at the highest level, and     3) the student' opinions about learning by instructional package was at the highest level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ