ผลการใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ)

Main Article Content

วนิดา ชมภูพงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ) 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนจากการเรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ) 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ) ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ) ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 36 คนที่ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) 

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย                   2) แผนการจัดการเรียนรู้  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (dependent)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  ชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย มีประสิทธิภาพ 83.33 / 82.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 70/70

            2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ) ที่เรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

                        3.          ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ) ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย อยู่ในระดับมากที่สุด

 

Abstract

               The purposes of this research were : 1) to develop a cooperative learning package on Thailand geography Lesson for Matthayomsuksa 1 students,Tessaban 4 school (chowwanapreechautit) 2) to compare the students learning achievement before and after learning by using cooperative learning package in Thailand geography Lesson of Matthayomsuksa 1 students, Tessaban 4 school (chowwanapreechautit) 3) to study the satisfaction of the students toward the collaborative learning package. The subjects of the study are comprised of 36 students in the same class of Tessaban 4 school (Chowwanapreechautit) during the second  semester, academic year 2012.

   The research tools used are 1) the collaborative learning package on Thailand geography lesson 2) lesson plan 3) learning achievement test and 4) the student satisfaction form

   The statistical analysis was done through percentage, means, and standard deviation (S.D.). The t-test dependent is used to test hypothesis.

               The results of the study as summarized as follows:

               1. the cooparative learning package on Thailand geography package Lesson for Matthayomsuksa 1 students created has a Efficiency E1 = 83.33 E2 = 82.29 higher efficient criterion than standard criterion of 70 /70

               2. comparing learning Achievement. found that students using the learning package post –test higher than pre – test different significance at the 0.1 level.

               3.  the satisfaction of students’ the collaborative learning package on Thailand geography lesson is very high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ