การศึกษาผลกระทบการดำเนินงานของสถาบันการจัดเงินทุนชุมชน

Main Article Content

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ
โกวิทย์ พวงงาม
จุรีวรรณ จันพลา
รณรงค์ จันใด

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง“การศึกษาผลกระทบการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน”                  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวคิด รูปแบบการดำเนินงาน สถานการณ์ และผลการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนในด้านการสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ชุมชนและการสร้างประโยชน์แก่สมาชิกของชุมชน 2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และแผนงาน/โครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาผลกระทบตามวัตถุประสงค์ของแผนเชิงยุทธศาสตร์ และผลกระทบข้างเคียงทั้งทางบวกและทางลบต่อชุมชนของแผนงานส่งเสริมการจัดตั้งและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน และ 4) ศึกษาหานโยบายและมาตรการที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในการพัฒนากระบวนงานและพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) โดยการลงไปศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

            ผลการศึกษาพบว่า

          1.  สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งในปี พ.ศ.2551 – 2552  พ.ศ.2553 และ พ.ศ.2554   มีรูปแบบการจัดตั้ง ที่มาของคณะกรรมการบริหาร และลักษณะการดำเนินงานคล้ายคลึงกัน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2551 – 2552 และสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นใน         ปี พ.ศ.2553 มีการบริหารจัดการด้านต่างๆ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน (ร้อยละ 85.35 และ 86.54

ตามลำดับ) แต่มีความแตกต่างกับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2554 โดยสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 มีค่าเฉลี่ยการบริหารจัดการด้านต่างๆ โดยภาพรวมต่ำกว่าทั้ง 2 รูปแบบข้างต้น (ร้อยละ 70.99)

            2.  สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2551 – 2552 พ.ศ.2553 และ พ.ศ.2554  มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของชุมชนและสมาชิกชุมชนไม่แตกต่างกัน โดยทั้ง  3 รูปแบบมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของชุมชนและสมาชิกชุมชนในระดับมาก ส่วนประสิทธิผลของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนซึ่งวิเคราะห์จากความพึงพอใจโดยรวมของสมาชิกต่อสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน พบว่าสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2551 – พ.ศ. 2552 , พ.ศ.2553   มีความพึงพอใจต่อสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนใกล้เคียงกัน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แต่สมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2554  มีความพึงพอใจต่อสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

            3. ผลกระทบตามวัตถุประสงค์ของแผนเชิงยุทธศาสตร์ของสถาบันการจัดเงินทุนชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2551 – 2552 พ.ศ.2553 และ พ.ศ.2554 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก และเป็นผลกระทบในเชิงบวกที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน

            4.  ในการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์และสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนควรมีนโยบายและมาตรการจำแนกประเภทของกลุ่มออมทรัพย์และสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ควรจะมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้กับคณะกรรมการบริหารสถาบัน การจัดการเงินทุนชุมชนอย่างต่อเนื่อง กำหนดลำดับของการพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเพื่อเผชิญหน้าและต่อสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ควรมีการทบทวนประเมินผลและวางระบบการติดตามการดำเนินงานของสถาบันการจัดการเงินชุมชนทั้งหมด เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนและช่วยเหลือ

 

Abstract

          The  objectives  of  the  research  on “ The  Effects  from  the operations  of  the  institution  of  Financial  Management  for  the  Community” are 1)  to  learn  about  the  concept, routine, circumstances and  performances of the Institutions  of  Financial  Management  for the Communities in changing  and  benefiting  the communities ; 2) to analyze  the  efficiency  and  effectiveness  of  the  Institutions  in  solving  the  problem  concerning   private  debts  of  the  communities  and  the  members  thereof; 3) to learn about the effects   from  the  strategic  plan in accordance to  the  objectives  of  the  plans,  as  well  as  both  positive and  negative   side effects  on  the  communities from  the plan  to  establish  and  strengthen the institutes, the projects to  handle the 

private  debt  problems and other  relevant project; and 4) to find the most appropriate  and  practical  policies  and  measures  to  develop   the  procedures  and human  resources of the institutions and the relevant public and private organizations. The  research work is a  quantitative  and  qualitative conclusion to support the information.             The results of research revealed that :

            1.  The  Institutions  were  established  from 2008 to 2011 which form source of the executive  committee. And similar operational characteristics. And Managing various aspects. Whole were not significantly different (85.35 and 86.54 percent, respectively). But there is a difference to the community fund management institutions established in 2011 by the Institute of Community Capital Management was established in the year 2011, the average management aspects. Overall, under the second form above (70.99 percent).

            2.  The  Institutions  were  established  from  2008 to 2011 effective in the external debt problems of the communities  and members of the communities, not by the three different  forms in the external debt problems of the community and members of the communities  on many levels. The effectiveness of  institution capital management communities, which analyzes the overall satisfaction of the members of the Institute of Finance Management communities. Found that members of the communities funds management institutions established in the year 2008 – 2009 and 2010 were satisfied with the fund management community. The similar average level. But members of the finance communities  management institutions established in the year 2011  were satisfied with the management of communities  funds have an average level.

            3.  Impact on the objectives of the strategic plan of the institution, the communities fund was established in the year 2008 - 2009, 2010  were included in the average level. And a positive impact on the benefit to members and the communities.

          4.       Savings groups and institutions in the development of the fund management communities. The Community Development Department should have policies and measures and institutional classifications of group savings fund management communities. To determined the difference. There should be training to educate executive management, finance institutions, sustainable communities. The sequence of development finance institutions to manage communities to confront and fight the currents of social change. There should be a review of the evaluation and monitoring of the implementation of institutional money management community as a whole. This found ways to support and help.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ