การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกโคนลิ้นในประชากรไทย เพื่อใช้ในการระบุเพศ

Main Article Content

ดลบันดาล เศวตวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างทางกายวิภาคระหว่างเพศชายและเพศหญิงกรณีต้องการระบุเพศจากศพ  โดยใช้กระดูกโคนลิ้น เนื่องจากเป็นกระดูกที่มีโอกาสแตกหักเสียหายและถูกทำลายได้น้อย นอกจากนี้ในระบบสืบสวนสอบสวนและกระบวนการยุติธรรม ความรู้ทางด้านกายวิภาคและกลไกร่างกายมนุษย์สามารถนำมาใช้อ้างอิงกับศาลได้ 

             กระดูกโคนลิ้นที่นำมาทำการศึกษาในครั้งนี้ นำมาจากห้องปฏิบัติการกายวิภาค  ภาควิชากายวิภาคศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ( simple random sampling ) มีจำนวน 61  ชิ้น  เป็นเพศชายจำนวน  38  ชิ้น   เพศหญิง 23 ชิ้น ในช่วงอายุตั้งแต่  21- 99  ปี  ทำการวัดทั้งหมด 17 จุด นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์โดยใช้สถิติการจำแนก    ( discriminant analysis ) ผลการวัดกระดูกโคนลิ้นของเพศชายและเพศหญิง พบว่าบริเวณ body  มีค่าความแตกต่างกันของตัวแปรในทุกจุด  โดยทั้งจุด M3  M4  M5  M16  และ M17  พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value <0.05 )  ส่วนบริเวณ greater cornu ข้างซ้ายที่จุด M1 และ M6  พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value =0.000 )  และบริเวณ greater cornu ข้างขวา ที่จุด M2 และ M11 พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value =0.000 ) โดยจุดที่มีค่าความถูกต้องเฉลี่ยในเพศชายและเพศหญิงสูงสุด คือ M4  คิดเป็น 83.6 %   หลังทำการทดสอบด้วยค่าสถิติ  chi-square  ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05   พบว่า  เพศและการเชื่อมปิดของกระดูกโคนลิ้นในประชากรไทยไม่มีความสัมพันธ์กัน

 

Abstract

             The major propose of this research was to investigate the anatomical differences between male and female from Thai cadavers by using hyoid bone since it is hardly  broken and destroyed among unstable condition. Furthermore, the data of this result may help the investigative and judicial system. Sixty one hyoid bones had been used;  38 from male and 23 from female at the age ranging from 21-99 years old.  Seventeen  measurements were determined on each bone. Discriminant analysis was required to transform the variables measurements.  P-value that less than 0.05 was considered as significant differences. Left greater counu revealed significant differences ( p-value = 0.00 ) at  M5 and M6 points. And part of right greater counu revealed statistical significant differences ( p-value = 0.00 ) at  M2 and M11 points. The most accuracy percent values of male and female is at M4 ( 83.6 %). And the result from chi-square analysis between sex and osseous fusion showed no significant differences.  Thus, sex and osseous fusion in Thai populations has no correlation. 

 

Article Details

Section
บทความ