การหาลายนิ้วมือแฝงโดยใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์

Main Article Content

ฐิติมา ปานมณี

Abstract

บทคัดย่อ

            ในงานวิจัยนี้ได้ตรวจหาลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฎขึ้นบนพื้นผิวที่เป็นโลหะ คือทองแดง อลูมิเนียม stainless steel ทองเหลือง และสังกะสี และพื้นผิวที่เป็นอโลหะ คือแก้ว และพลาสติก โดยใช้สารละลายอิเล็กโทรไลต์  จากการทดลองได้ศึกษาถึง pH ที่เหมาะสมของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ และระยะเวลาที่ใช้ในการปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝง หลังจากนั้นถ่ายรูปลายนิ้วมือแฝงที่ได้ และส่งให้ผู้ชำนาญด้านการตรวจลายนิ้วมือแฝงทำการตรวจจุดลักษณะสำคัญพิเศษ โดยใช้จุดลักษณะสำคัญพิเศษตั้งแต่ 10 จุดขึ้นไป เพื่อยืนยันตัวบุคคล

          จากผลการทดลองพบว่า ลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฏขึ้นบนพื้นผิวโลหะที่นำมาแช่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่ใช้ในช่วง pH 2-11 สามารถระบุตัวบุคคลได้ โดยใช้เวลาในการแช่ 10 นาที ยกเว้นพื้นผิวของ stainless steel และอลูมิเมียมที่ต้องแช่ที่ระยะเวลามากขึ้น และเมื่อมีการใส่ทองแดง หรือสังกะสี ลงในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ด้วย พบว่า สามารถลดระยะเวลาในการปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝงในพื้นผิวทั้งสองได้ เมื่อนำพื้นผิวอลูมิเนียมมาทำการทดสอบเพื่อวัดค่าศักย์ไฟฟ้าในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นสารละลายกรด-เบส สารละลาย CuSO4 และ ZnCl2 ที่ความเข้มข้น 0.001-0.100 M พบว่าเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของค่าศักดิ์ไฟฟ้าที่ตรวจวัดระหว่างการทดลอง ลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฎขึ้นจะมีความชัดเจน ซึ่งคาดว่ามีการเปลี่ยนค่า oxidation state ที่พื้นผิวของโลหะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยใช้หลักการทางไฟฟ้าเคมี ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า เทคนิคที่ใช้นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้

 

Abstract

          The aim of this project is to study the method of using aqueous electrolytes for the development of latent fingerprints on metal sheets, glass and plastic. The metal sheets used were made of copper, aluminium, stainless steel, brass and zinc. The effects of pH of the electrolyte and the development time on the quality of the fingerprints were investigated. The photographs of the developed fingerprints were taken and examined by a fingerprint expert for the number of minutiae. The number of more than 10 minutiae detected was taken as evidence of person identity. It was observed that with the exception of steel and aluminium sheets, the latent fingerprints were visualized with high quality on all substrates after developing for 10 minutes in the electrolytes with pH in the range of 2-11. For steel and alumimium surfaces, the development time was longer than 10 minutes, however, when copper or zinc was added into the electrolyte, a faster development can be observed. The electrical potentials on aluminium sheet were measured in the electrolytes of varying pH and in CuSO4 and ZnCl2 solution at a concentration range of 0.001-0.100 M. As the potential increased, the clear fingerprint ridges can be observed. It was then suggested that the change in the oxidation state of metal via electrochemical reaction produced the observed ridges of fingerprints. The results demonstrated the potential of the method used in this work for the detection of latent fingerprints on metal, glass and plastic surfaces in forensic cases.

Article Details

Section
บทความ