Biology of Indian squid, Loligo duvauceli in Thailand

Main Article Content

Nidsaraporn petsut

Abstract

Abstract

               In Thailand, one of the commercial marine animals is Indian squid, Loligo duvauceli. The objective of this report is to review a recent knowledge for commercial mariculture of Indian squid. Generally, this squid is widespread in the Gulf of Thailand, and is able to spawn annually. The average size of mantle length (ML) of spawners ranges from 4.3 to 10.0 cm, and external sex characteristic of squid can be observed on hectocotylized arm in male. In nature, sex ratio of male to female is 1:2. The fertilized female has average fecundity about 2,000 to 10,000 eggs. After fertilization female will deposit numerous egg capsules on suitable substrates in 5 to 7 days. For life span, the squid could persistently exist about one year with average growth rate about 0.4 mm ML per day and maximum ML was recorded approximately 400 mm ML. Regarding the feeding behavior, the squid is considered as carnivorous and selective feeder. In commercial culture aspect, the appropriate food for squid should be zoea stage of blue swimming crab, Portunus pelagicus and post larva of penaeid shrimps such as Penaeus vannamei.

Key words:  biology, Indian Squid, Loligo duvauceli, Gulf of Thailand

 

บทคัดย่อ

            ในประเทศไทยหมึกกล้วย Loligo duvauceli เป็นสัตว์ทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งวัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงหมึกกล้วยเชิงพาณิชย์ โดยทั่วไปหมึกกล้วยมีการกระจายกว้างในแหล่งอาศัยของพื้นที่อ่าวไทย และสามารถสืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ในด้านสัญฐานวิทยาขนาดเฉลี่ยของความยาวแมนเทิล (ML) ของพ่อแม่พันธุ์จะมีค่าอยู่ระหว่าง 4.3 ถึง 10.0 เซนติเมตร และลักษณะภายนอกที่บ่งบอกเพศสามารถสังเกตได้จากแขนพิเศษ (hectocotylized arm) ซึ่งพบเฉพาะเพศผู้เท่านั้น ในธรรมชาติอัตราส่วนเพศของหมึกกล้วยเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 1:2 หมึกกล้วยเพศเมียที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะมีความดกของไข่เฉลี่ย  2,000 ถึง 10,000 ฟอง หมึกกล้วยวางไข่โดยการติดพวงไข่ (egg capsules) บนพื้นผิวของวัสดุใต้น้ำหลังจากปฏิสนธิประมาณ 5 – 7 วัน หมึกกล้วยมีช่วงชีวิต (life span) 

ประมาณ 1 ปี และมีค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตอยู่ที่ 0.4 มม. ของความยาวแมนเทิลต่อวัน และหมึกกล้วยขนาดใหญ่ที่สุดที่มีบันทึกไว้คือประมาณ 400 มม. ของความยาวแมนเทิล พฤติกรรมการกินอาหารของหมึกกล้วยพิจารณาได้ว่าเป็นพวกกินเนื้อเป็นอาหารหลัก (carnivorous) และเป็นพวกกินอาหารที่เฉพาะเจาะจง (selective feeder) ในเชิงพาณิชย์อาหารที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงหมึกกล้วยเชิงพาณิชย์คือ ตัวอ่อนของปูม้า (Portunus pelagicus) ในระยะ zoea และตัวอ่อนระยะ post larva ของกุ้งทะเลในกลุ่ม penaeid shrimp เช่น กุ้งขาว (Penaeus vannamei) เป็นต้น

คำสำคัญ: ชีววิทยา หมึกกล้วย Loligo duvauceli อ่าวไทย

Article Details

Section
บทความ