ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่ม และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างเพศชายและเพศหญิงหลังการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็นเพศชาย 15 คน และเพศหญิง 9 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรของโรงเรียนบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 24 แผน สำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์ และแบบสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง ด้านการควบคุมจัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม ด้านความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ด้านการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และด้านทักษะทางสังคม หลังการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มดีกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) พฤติกรรมเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เพศหญิงโดยรวมหลังการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มดีกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า เพศหญิงมีพฤติกรรมเกี่ยวกับเชาวน์อารมณ์ด้านการมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และด้านการควบคุม จัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสมดีกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ด้านการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และด้านทักษะทางสังคม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract
The purposes of the research were to: 1) study the emotional quotient behavior of the second year preschoolers before and after using group art activities, and 2) compare the emotional quotient behavior between male and female second year preschoolers after using group art activities. The sample consisted of twenty-four 5-6 years old the second year preschoolers, divided into fifteen males and nine females, simply randomized from the population of Banlaem School, Banlaem District, under the Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 1 in the first semester of the academic year 2013. The instruments used in the study were 24 group art activities lesson plans for the eight week experiment and 20 items of emotional quotient behavior observation form, developed by the researcher with the reliability of 0.87. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t-test and Analysis of Covariance.
The results were found that the emotional quotient behavior overall and in each aspect, including sober and emotional self-awareness, self-control and appropriate emotion management, commitment to achieve goals, being considerate and social skills of the second year preschoolers after using group art activities were significantly better than before at the level of 0.01, and the emotional quotient behavior overall of female second year preschoolers after using group art activities was significantly better than those of males at the level of 0.01. Considering each aspect, sober and emotional self-awareness, and self-control and appropriate emotion management of female second year preschoolers after using group art activities were significantly better than those of males at the level of 0.05, whereas the aspects of commitment to achieve goals, being considerate and social skills were not significantly different.