ผลของการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

Main Article Content

สิริยากร ชูพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง และ 2) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองระหว่างเพศชายและเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็นเพศชาย 10 คน และเพศหญิง 10 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลากจากประชากรของโรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556  เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 24 แผน สำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์ และแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ และด้านการเพิ่ม-ลดจำนวน หลังการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองกลุ่มสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรม โดยรวมของเพศชายสูงกว่าของเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลองเด็กชายมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าของเด็กหญิงทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

Abstract

            The purposes of the research were to: 1) study the basic mathematical skills of the second year preschoolers before and after participating in simulation activities, and 2) compare the basic mathematical skills of the second year preschoolers after participating in simulation activities between males and females. The sample used for the research were ten male and ten female second year preschoolers, aged 5-6 years, simply randomized from the population of Anubansuanphung School, Suanphung District, Ratchaburi Province, in the first semester of the academic year 2013. The tools used in the study were 24 simulation activity lesson plans for the 8-week-experiment and 30 items of basic mathematical skill test for the second year preschoolers with the reliability of 0.87. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t-test and Analysis of Covariance.

            The results of the study were found that the basic mathematical skills overall and in each aspect, including knowing the value of numbers, comparison, and number increasing and decreasing of the second year preschoolers after participating in simulation activities were significantly higher than before at the level of 0.01, and the overall basic mathematical skills of the male second year preschoolers after the experiment were significantly higher than those of the females at the level of 0.05. Considering each aspect, the basic mathematical skills in each aspect of males after the experiment were significantly higher than those of the females at the level of 0.05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ