การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและ ธรณีประวัติ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ กลิ่นจันทร์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคมโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ และ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2  โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สพม.31 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้อง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวนนักเรียน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิดประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม จำนวน 20 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และแบบวัดเจตคติต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Likert Scale) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ (t-test Dependent)

            ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

          1.       แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม มีค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ E 1/E 2= 88.45/85.81

2.          ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม เท่ากับ 0.78     

          3.       นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

            The purpose of this research were to develop lesson plans for organization of learning activities based on service learning with a required efficiency criterion for 80/80, to find out the effectiveness indices of the plans for learning and to compare learning achievement, scientific process skills and attitudes toward in natural resources and environment conservation who learned using these approaches. The sample consisted of fourty Mathayomsuksa 4/2 students attending Boonwattana School, Amphoe Meung, Nakhonratchasima province in the first semester, academic year 2012 by Cluster Random Sampling. The instruments used in the research were 8-plans for organization of learning activities using service learning total 20 hours ; 40-item achievement test ; 40-item test of scientific process skills and 20-items scale of attitudes toward on natural resources and environment conservation. The statistics used in this research were percentage, mean, standard deviation, and pair’s t-test and dependent t-test were employed for testing hypothesis.

            The results of the study were as follows:

            1. The plans for organization of learning activity based on service learning had efficiencies of 88.45/85.81 which were higher than the established requirement.

            2.  The effectiveness indices of the plans for learning which organized learning activities based on service learning were 0.78

            3. The students who learned using activities based on service learning approach showed gains in learning achievement, scientific process skills and attitudes toward in natural resources and environment conservation from before learning at the .01 level of significance 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ