แนวทางการพัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

Main Article Content

ประภาพร ถึกกวย

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ในหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ 2) ศึกษาเจตคติและแรงจูงใจในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ รับรู้หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มีเจตคติในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเห็นว่าตำแหน่งทางวิชาการเป็นประโยชน์ต่อตนเอง คณะวิชา และมหาวิทยาลัยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ตำแหน่งทางวิชาการทำให้ได้รับการยอมรับในสังคมของมหาวิทยาลัย สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง ทำให้มีคุณค่าทางวิชาการ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่  เป็นตำแหน่งที่ทรงเกียรติ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ และเป็นสิ่งแสดงถึงความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ นอกจากนี้ มีเจตคติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่แรงจูงใจในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีแรงจูงใจด้านความต้องการความก้าวหน้าและความต้องการความสำเร็จอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการได้รับการยอมรับนับถืออยู่ในระดับปานกลาง สำหรับแนวทางการพัฒนาเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มีดังนี้ 1) ควรจัดสรรเวลาในการสร้างผลงานทางวิชาการเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ 2) ควรติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการจากเอกสาร วารสารวิชาการหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่รับผิดชอบ 3) ผู้บริหารควรจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยให้เพียงพอ  4) ผู้บริหารควรรวบรวมผลงานทางวิชาการที่ผ่านการประเมิน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่อาจารย์ที่ต้องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ 5) ผู้บริหารควรจัดให้มีตำรา วารสาร เอกสารทางวิชาการและวิชาชีพทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทันสมัยในห้องสมุด


Abstract

            The purpose of this research were to 1) study perception on regulations and methods in acquiring academic positions 2) study the attitudes and motivation for acquiring academic positions and 3) study the means to develop the acquisition of academic position. The subjects of this study were lecturers, assistant professors, and associate professors at Silpakorn University, Sanamchandra Palace campus. The research instruments employed in this study were questionnaires. Data were also collected by interviewing the respondents after completing the questionnaires. The statistics were analyzed for frequency, percentage,  average, and standard deviation.

          The results showed that the lecturers of Silpakorn University, Sanamchandra Palace campus were familiar with the regulations, methods and process in acquiring academic positions at a high level. They believed that the academic positions were beneficial to themselves, the Faculty, the Department, and the   University. Acquiring academic positions would result in an acceptance within university society, generate  pride in themselves, and create academic value. In addition, they would indicate expertise. Academic work for acquiring academic positions produced innovative knowledge that the academic positions were honorable,  and academic positions could be used to develop the community, society, and our nation. Academic positions were also a symbol of academic excellence of the university. As for the motive in acquiring academic  positions, the overall picture was at a high level, with the motivation to progress in work and achieve at a high level, and the need for acceptance at a medium level. For the means to develop the acquisition of academic positions, the results showed that the responses in order of importance were as follows 1) time should be allocated so that the research work can be done to acquire academic positions 2) the progress of the academic work should be monitored through documents, academic journals, or research that related to the field 3) the administrators should collect research work that had been evaluated so that the lecturers would have examples to acquire academic positions 5) the latest textbooks, journals, academic and professional documents both national and international should be provided in the library.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ