ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ

Main Article Content

ตะวัน สื่อกระแสร์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชน
สู่ความเป็นเลิศ และเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่าง คือ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง  ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5 คน เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน 5 คน ผู้รับใบอนุญาตและผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน 10 คน ครูโรงเรียนเอกชน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การอภิปรายกลุ่มเฉพาะ การสังเกตประกอบการสอบถาม การทำ SWOT Analysis และการทำวิทยาพิจารณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

              1. การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศมีสภาพดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการบุคลากรพบว่าผู้บริหารมีความเป็นผู้นำและเป็นผู้บริหารมืออาชีพ สร้างขวัญ กำลังใจและแรงจูงใจแก่ครู
มีระบบนิเทศที่มีประสิทธิภาพ ปรับครูให้เหมาะสมกับวิชาและชั้นเรียน ลดจำนวนผู้บริหารระดับสูงมาทำการสอน รับคนให้ตรงกับงาน มีการสอนงาน อบรมภาษาอังกฤษให้กับครูใหม่ เน้นจรรยาบรรณครู 2) ด้านการบริหารทั่วไปพบว่า ลดสายงานบังคับบัญชา เน้นธุรกิจศึกษา ดำเนินการก่อนคู่แข่ง เน้นความเป็นเลิศในการให้บริการ บริหารแบบมีส่วนร่วม จัดสิ่งแวดล้อมให้ร่มรื่น สวยงาม น่าอยู่ น่าเรียน ใช้เทคโนโลยีในการบริหารและใช้นวัตกรรมในการเรียนการสอน และประหยัด 3) ด้านการบริหารจัดการวิชาการพบว่า
เน้นคุณภาพของครู มีการใช้ศัพท์เทคนิคในการสอน ให้ความสำคัญกับทุกกิจกรรม สอนอย่างมีความหมาย ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม มีการใช้แหล่งเรียนรู้ภายนอก มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง มีการจัดห้องเรียนพิเศษ เน้นความสามารถด้านภาษาไทย สอนภาษาเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย และประชาคม

อาเซียนโดยเจ้าของภาษา   4) ด้านการบริหารจัดการงบประมาณพบว่ามีการใช้งบประมาณให้คุ้มค่า ลดความเสี่ยง และจัดหาแหล่งเงินภายนอก 

            2.  การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศมีปัญหาดังนี้ 1) ด้านการบริหารวิชาการพบว่า โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่รับนักเรียนจากเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนลดลง สื่อการเรียนการสอน และอุปกรณ์การสอนมีไม่เพียงพอ 2) ด้านการบริหารงบประมาณพบว่า ขาดงบประมาณในการลงทุน ระบบสวัสดิการไม่มีคุณภาพ 3) ด้านการบริหารบุคลากรพบว่า ขวัญและกำลังใจของครูลดลง ครูที่มีอายุน้อยบางส่วนลาออกไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการ ไม่มีโครงการจัดอบรมสัมมนาสำหรับโรงเรียนเอกชน รัฐเป็นผู้กำหนดเงินเดือนของครูเอกชน ครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ขาดครูที่มีคุณภาพ ครูที่มีอายุมากมีปัญหาในการจัดทำสื่อ ICT 4) ด้านการบริหารทั่วไปพบว่าโรงเรียนเอกชนแข่งขันกันเองและแข่งขันกับโรงเรียนรัฐบาล นโยบายภาครัฐเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของเอกชนไม่ชัดเจน จำนวนนักเรียนลดลง มีโรงเรียนนานาชาติเพิ่มมากขึ้น ครูโรงเรียนเอกชนต้องทำหน้าที่หลายอย่างนอกเหนือจากงานสอน

              3.  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ คือ “INTERACTIVE Strategy” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ย่อย ดังนี้ 1) การใช้นวัตกรรม (Innovation : I) 2) การสร้างเครือข่าย (Network : N)  3) การใช้เทคนิคเชิงบริหาร (Administrative Techniques : T) 4) การให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ (English Language : E)  และสิ่งแวดล้อม (Environment : E)  5) การให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ (Relationship : R) การปรับโครงสร้างใหม่และการปฏิรูป (Re-Organize and Reform : R) และการทำวิจัยเชิงทดลองที่ได้ผลรวดเร็ว (Research : R)  6) การให้ความสำคัญกับวิชาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกด้าน (A : Academic and Achievement) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Evaluation : A)  7) การให้ความสำคัญกับการลงทุน (Cost : C) และหลักสูตร (Curriculum : C) 8) การให้ความสำคัญกับภาษาไทย (Thai Language : T)  9) การให้ความสำคัญกับการจูงใจบุคลากร (Incentive : I) 10) การให้ความสำคัญกับการสร้างค่านิยมร่วม (Value : V) 11) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นคุณธรรม จริยธรรม (Ethics : E)

 

Abstract

              The purposes of this research were to study 1) the states and problems in the private school management to the excellence, and to formulate the strategy for the private school management to the excellence. The samples were Deputy Secretary-General of the office of the Private Education Commission, Directors of the Office of Education Ministry who were randomized by purposive sampling, 5 Directors of the office of educational service area in the upper north region, 10 private school directors in the upper north region, 50 private school teachers in the upper north region. Gathering of 

data was by document studies, observation, in-depth interview, focus group discussion, SWOT analysis and academic hearing. Analyzing of data was by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, content analysis and content synthesis. The results of this research were as follow:-

            1. The states of the private school management to the excellence were administrative leadership and professional of school administrator, promoting the morale, willpower and motivation of the teacher and personnel, supervision and paying attention to the personnel, reducing the high manager to teach, recruit the right man to the right job, coaching, English training for the new teacher, ethics emphasizing,  2)  the general administration aspect were reducing the work line, emphasizing in business of education, operate before competitor, emphasizing in excellence service, participation in school management, environmental organization with sylvan, beautiful, livable, and learnable, using the technology in administration and using the innovation in teaching and learning, using E-learning, and saving, 3) the academic administration aspect were emphasizing in quality teacher, using the technical term in teaching, emphasizing in every activities, meaningful teaching, promoting the ethics, using the external learning source, authentic evaluation, setting the extra classroom, emphasizing in the Thai language for teaching, teaching another neighbor language in Asia and ASEAN community by native speaker, 4) the budgeting administration aspect were using the worthy budget, reducing the risk, and providing the external source of budget.

              2. the problems in the private school management to the excellence were 1)  the academic administration aspect were undertaking the low achievement student, decreasing the student of  the private school, lack of learning and teaching equipment, 2)  the budgeting administration aspect were lack of the budget and the good welfare, 3) the personnel administration aspect were decreasing of teachers’ morale and motivation, promptly resignation of the teacher because recruitment of the government school, lack of academic seminar for the private school teacher, the monthly salary of the private school teacher is setting by the government, the private school teacher ought to have the teaching license, lack of the teacher, the problem in online technology setting of the older teacher, 4) the general administration aspect were competition between the private school, and between the private school and the 

government school, unclear government policy in private education, decreasing of the student, there are a lot of international school, and undertaking in a lot of work of the private school teacher.

            3. The strategy for the private school management to the excellence were “INTERACTIVE strategy” which is  composed of 1) I : innovation 2)N : network 3) T : administrative technique 4) E :  English language and Environment 5) R : Reorganizing, Reform, and Research 6) A : Academic, Achievement, and Authentic Evaluation, 7) C : Cost, Curriculum, 8) T : Thai language, 9) I : Incentive, 10) V : Value, and 11) E : Ethics 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ