ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

พรรณพนัช จันหา
อัจฉริยา ปราบอริพ่าย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเปรียบเทียบความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และทัศนคติต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนและวิทยาเขตบางเขน ปีพุทธศักราช 2557 จำนวน 381 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในระดับมาก (= 4.06) เมื่อพิจารณาแยกตามองค์ประกอบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์อยู่ในระดับดีมาก (= 4.22) และรองลงมาอยู่ในระดับดี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ อาจารย์ (= 4.19) หลักสูตร (= 4.08) การบริหารจัดการ (= 4.02) การจัดการเรียนการสอน (= 3.97) และเทคโนโลยีและอุปกรณ์การเรียนการสอน (= 3.88) ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในระดับมาก (= 4.07) เมื่อพิจารณาจากเหตุผลในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านสังคมมีค่าเฉลี่ยความต้องการมากที่สุด (= 4.14) รองลงมา คือ ด้านสถาบัน (= 4.08) ด้านเหตุผลส่วนตัว (= 4.08) และด้านการประกอบอาชีพ (= 3.99) ตามลำดับ

สำหรับผลการเปรียบเทียบปัจจัยปัจจัยส่วนบุคคล และทัศนคติต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับความต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า  กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ และเกรดเฉลี่ยสะสม ที่แตกต่างกัน มีความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพการศึกษา วิทยาเขตที่กำลังศึกษา กลุ่มสาขาวิชาที่กำลังศึกษา และมีทัศนคติต่อภาพลักษณ์ หลักสูตร อาจารย์ การจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และเทคโนโลยีและอุปกรณ์การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ปัจจัย ความต้องการ ระดับปริญญาโท

Abstract

The aims of this research was to study the needs for a Master’s Degreestudies at Kasetsart University and to compare the needs for a Master’s Degree studies at Kasetsart University. Classified by personal factors and attitudes to Kasetsart University of Kasetsart University students. The sample group used in this research was composed of 381 undergraduate seniors studying at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus and Bang Khen Campus in the year 2014. A questionnaire was used as a tool to collect the data.

The results of this study showed that the samples’ attitudes to Kasetsart University were at a high level (= 4.06). When each aspect was considered, it was found that positive attitudes toward the image were at the highest level (= 4.22), followed by the: teacher (= 4.19), curriculum (= 4.08), management (= 4.02), teaching (=3.97), and technology and educational equipment (= 3.88), respectively. In addition, it was found that the sample group needed to study for a Master’s Degree at Kasetsart University at a high level. (= 4.07). When the reasons given for each aspect were considered, it was found that all aspects were at a high level. The social aspect was the highest (= 4.14), followed by the: institution ( = 4.08), personal reason (= 4.08) and occupation (= 3.99) aspect, respectively.

The results of the comparison between personal factors and attitudes of Kasetsart University  students and the needs for Master’s degree studies showed that gender, age and GPA did not significantly affected the needs to study for a Master’s degree. However status, campuses, fields of study and attitudes to the image, teachers, curriculum, management, teaching, and technology and educational equipment significantly affected the needs to study for a Master’s degree at .05 level of significance.

Keyword: Factors, Needs, Master’s Degree

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

พรรณพนัช จันหา

นักวิชาการศึกษา กองบริหารวิชาการและนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน