ยุทธศาสตร์การรวมพลังสู่เป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก

Main Article Content

นิภา ไพโรจน์จิรกาล

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก   2) สร้างยุทธศาสตร์การรวมพลังสู่เป้าหมายที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา และนำไปวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยืนยันยุทธศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลของยุทธศาสตร์การรวมพลังสู่เป้าหมายในการแก้ไขปัญหาที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก  ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา การวิจัยกึ่งทดลอง เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยระหว่าง ปีการศึกษา 2554-2555 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 และ 2 ในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสำรวจสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและคุณภาพการศึกษา แบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของ สมศ.  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และสรุปสังเคราะห์ข้อมูล และเชิงปริมาณ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ  t-test

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.     สภาพปัจจุบัน ปัญหา และคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก  สรุปได้ 7 ด้าน  ได้แก่  1) ด้านบุคลากร 2) ด้านงบประมาณ 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ 4) ด้านการบริหารจัดการ  5) ด้านอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม  6) ด้านการจัดการเรียนการสอน  และ 7) ด้านผู้เรียน

            2.     ยุทธศาสตร์การรวมพลังสู่เป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก มีหน่วยระบบทำงานที่สำคัญของยุทธศาสตร์ 5 หน่วยระบบทำงาน ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักและการยอมรับ  2) การอบรมให้ความรู้เกณฑ์มาตรฐาน 3) การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ 4) การรวมพลังภายในกำหนดค่าเป้าหมาย 5) การรวมพลังภายในและพลังภายนอกจากเครือข่าย

          3.       ผลของการทดลองยุทธศาสตร์การรวมพลังสู่เป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก  พบว่า  โรงเรียนขนาดเล็ก มีคุณภาพการศึกษาหลังการทดลองใช้ยุทธศาสตร์สูงกว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์ โดยมีค่า    =62.42  ค่า S.D = 5.88  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

ข้อค้นพบจากการวิจัย  คือ  การพัฒนาต้องเริ่มที่ตนเองมีจิตใจที่ต้องการการพัฒนาก่อน ขวัญและกำลังใจของครูเป็นสิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญ และผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเป็นผู้นำในการลงมือปฏิบัติการพัฒนา ใช้เทคนิควิธีการกระตุ้นจูงใจที่ตรงกับความต้องการของบุคลากร เพื่อสร้างพลังใจ ซึ่งเป็นพลังที่ต้องเริ่มต้นให้เกิดขึ้นก่อนพลังสติปัญญา และพลังปฏิบัติ  และใช้เทคนิคการรวมพลัง นำพาองค์กรมุ่งสู่เป้าหมาย และสิ่งสำคัญในการประสานงานกันของทุกฝ่าย คือ ความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน  การปฏิบัติต่อกันแบบจริงใจ จะผูกใจทุกคนไว้ด้วยกัน ต้องแทรกไว้ในการปฏิบัติการทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 

Abstract

            The objectives of this dissertation were to solve problems and improve the educational quality in small schools using the strategy of collaboration for achieving goal of educational quality development in small schools, applying methodology of research and development, quasi-experimental research, and quantitative and quantitative methodology. The research was conducted during academic years 2011 to 2012. The target group of the study consisted of 4 small schools under the Office of Elementary Education Service Area 1 and 2  Phetchaburi, Phetchaburi Province. The research instruments consisted of a form for surveying current situation, problems, and education quality, a form for recording results of focus group discussion, an observational form, a questionnaire, an interview form, and the form for external education quality assessment in the third round of (2011-2015) of Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). The qualitative data were analyzed by using content analysis and synthesis and the quantitative data were analyzed to find out percentage, mean, and standard deviation. The t-test was used for testing hypotheses.

            The research results revealed that :

            1.  The current conditions, problems, and quality of education in the small schools consisted of 7 aspects namely 1) personnel, 2) budget, 3) materials, 4) management, 5) buildings and environment, 6) teaching and learning activities, and 7) students.

          2.       The strategy of collaboration for achieving the goal of educational quality development in small schools comprised of 5 working system units consisting of:  1) creation of awareness and acceptance, 2) provision of knowledge on standard criteria, 3) study tour at masterful small schools, 4) internal collaboration for setting target, and 5) Internal and external collaboration of the network.

3.          The education quality in small schools existing after the experiment on implementation of the strategy was the existing after higher than that existing before ( =62.42 ค่า S.D = 5.88) with statistical significance at the level of .0.05  

                   The research findings revealed that starting point of development was the need to develop in personnel’s own mind, that teachers’ morale was what school administrators had to pay attention to, that school administrators had to be the leaders in development by using technique of stimulation and motivation, conforming with the personnel’s needs, to create heart force which must firstly occurred before head force and hand force, and then using technique of collaboration to lead the organization towards the goal, and that the important factor for creating coordination among various sectors was friendliness among the personnel: treating each other sincerely to unite everyone together,  which should be applied in every step of operation to achieve formal and  informal  cooperation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ