ผลของการใช้กิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 โรงเรียนอันนาลัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องผลของการใช้กิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 โรงเรียนอันนาลัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังการทำกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 อายุระหว่าง 3-4 ปี จำนวน 20 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากจำนวนประชากรของโรงเรียนอันนาลัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 จำนวน 24 กิจกรรม สำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์ และแบบสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ด้านการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ ด้านการเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์ ด้านคุณลักษณะของการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 หลังการทำกิจกรรมการเล่นกลางแจ้งมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Abstract
The purpose of the research the dffect of outdoor activities on the gross motor readiness of the first year preschoolers at Annalai School, Maung District, Samuthsakhorn was to study the gross motor readiness of the first year preschoolers before and after participating in the outdoor activities. The samples were twenty first year preschoolers, male and female, simply randomized from the population of Annalai School, Maung District,
Samuthsakhorn in the first semester of the academic year 2011. The instruments used in the study were twenty-four outdoor activity lesson plans for the eight week experiment and the gross motor readiness observation form. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t-test.
The result revealed that the overall and individual aspects. gross motor readiness and in each aspect, including still movement, displacing movement, movement with instrument and characteristics of gross motor using of the first year preschoolers before and after participating in the outdoor activities was significantly higher than before at the level of 0.01.