ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สายัณห์ พลแพน

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย ( Sample random Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองทดลอง 19 คาบ คาบละ 50 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test for Dependent Samples และ t-test for One Sample

            ผลการวิจัยพบว่า

          1.       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

         

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            3. ทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

            The purposes of this research were to compare academic achievement  and mathematical  communication skills of  Mathayomsuksa I students before and after learning through explicit  learning management emphasizing on representation and compare them to the criterion. 

            The subjects of this study were 36 Mathayomsuksa I students in the first semester of the 2013 academic year at Banplongliam School, Krathumbaen, Samudsakorn. They were randomly selected by using cluster random sampling. The experiment lasted for 19 fifty minute periods. The One-Group Pretest-Posttest Design was used for the study. The instruments used in data collection were the explicit learning management emphasizing on representation lesson plans and mathematics achievement test and mathematical communication skill test. The data were statistically analyzed by using t-test for dependent samples and t-test for one sample.

            The findings were as follows:

            1. The mathematics achievement of the experimental group after learning through explicit  learning management emphasizing on representation was statistically higher than before learning at the .01 level of significance.

            2. The mathematics achievement of the experimental group after learning through explicit  learning management emphasizing on representation was statistically higher than the 70 percent criterion at the .01 level of significance.

            3. The mathematical communication skills of the experimental group after learning through explicit  learning management emphasizing on representation was statistically higher than before learning at the .01 level of significance.

4. The mathematical communication skill of the experimental group after learning through explicit  learning management emphasizing on representation were statistically higher than the 70 percent criterion at the .01 level of significance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ