ผลของการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฎีของเพียเจท์ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฏีของเพียเจท์ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการทำกิจกรรมสถานการณ์จำลอง และเปรียบเทียบความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฏีของเพียเจท์ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ระหว่างเพศชายและเพศหญิงหลังการจัดกิจกรรมสถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 อายุ 5-6 ขวบ จำนวน 34 คน แบ่งออกเป็นเพศชาย 18 คนและเพศหญิง 16 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากจำนวนประชากร 3 ห้องเรียน ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมสถานการณ์จำลอง เพื่อใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ๆ ละ 4 ครั้งๆ ละ 20 นาที และแบบทดสอบความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฏีของเพียเจท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (sd) การทดสอบค่าที (t) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฏีของเพียเจท์ โดยรวมและรายด้านได้แก่ด้านการคิดย้อนเชิงอนุรักษ์ เชิงเปรียบเทียบ เชิงพื้นฐานคณิตศาสตร์ และเชิงจริยธรรมของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการทำกิจกรรมสถานการณ์จำลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฏีของเพียเจท์ทุกด้านของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
2. ความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฏีของเพียเจท์โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ การคิดย้อนกลับเชิงอนุรักษ์ เชิงเปรียบเทียบ เชิงพื้นฐานคณิตศาสตร์ และเชิงจริยธรรมของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 ระหว่างเพศชายและเพศหญิง หลังการทำกิจกรรมสถานการณ์จำลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 เพศหญิงมีความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฏีของเพียเจท์ทุกด้านสูงกว่าเพศชาย
Abstract
The purposes of this research were to compare the reversibility according to Piaget's theory of the third year preschoolers before and after participating in the simulation, and to compare the reversibility according to Piaget’s theory between male and female third year preschoolers after participating in the simulation. The samples were 34 third year preschoolers, eighteen males and sixteen females, rondomly selectd from three classes of the population of the Demonstration School of Nakhon Sithammarat Rajabhat University in the second semester of the academic year 2011. Insruments used in the study were 24 simulation plans for the six week experiment and a test of reversibility according to Piaget’s theory. Data were analyzed by using mean, standard deviation, t-test and Analysis of Covariance.
The results were as follows :
1. The reversibility according to Piaget’s theory of the third year preschoolers before and after participating in the simulation overall and in each aspect, including conservation, comparison, mathematics and moral were significantly different at the level of .01. The reversibility according to Piaget’s theory in all aspects of the third year preschoolers after the experiment were higher than before.
2. The reversibity according of Piaget’s theory of the male and female third year preschoolers participating in the simulation overall and in ther aspect, including conservation, comparison and mathematics were significantly higherthan those of the female at the level of 0.01. The female third year preschoolers had higher reversibility according to Piaget’s theory in moral aspect than those of the males.
The results of the study indicated that the simulation, constructed by the researcher could develop the reversibility according to Piaget’s theory of preschoolers. Early childhood teachers should implement this activity in order to prepare the preschoolers’ readiness for their higher education.