การสร้างชุดการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

มยุรี เจริญศิริ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3) ทดลองใช้ชุดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงชุดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 33 คน ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556  ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 4 สัปดาห์ แบบแผนการทดลองคือ One Group Pretest – Posttest Design 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)ชุดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ 2)แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3)แบบประเมินความสามารถการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 4)แบบประเมินคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)          

ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียน ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของผู้เรียนขาดการทำโครงงานและต้องการให้มีการสร้างชุดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง พร้อมกันนี้ควรมีการพัฒนาคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์  2)ผลการสร้างชุดการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำโครงงาน วิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้  รู้จักการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ความเร่งและผลของแรงลัพธ์ แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา แรงพยุงของของเหลว โมเมนต์ของแรง ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่แบบต่างๆ คู่มือครูมีส่วนประกอบดังนี้ ปก คำนำ สารบัญ คำชี้แจง วัตถุประสงค์/มาตรฐานและตัวชี้วัด แผนการจัดการเรียนรู้ เฉลยแบบฝึกหัด เฉลยแบบทดสอบ เกณฑ์การวัดและประเมินผล แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน  สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เอกสารประกอบการบรรยาย (Power point)อุปกรณ์ประกอบการทดลอง คู่มือนักเรียนมีส่วนประกอบดังนี้ ปก คำนำ สารบัญ คำชี้แจง วัตถุประสงค์/มาตรฐานและตัวชี้วัด ใบความรู้ ใบกิจกรรม  แบบฝึกหัด แบบทดสอบ เกณฑ์การวัดและประเมินผล โดยชุดการเรียนรู้มีค่าประสิทธิ์ภาพ 81.61/82.02  3)ผลการทดลองใช้ชุดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ความสามารถทำโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี และ มีคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดี 4)ผลการประเมินและปรับปรุง ชุดการเรียนรู้พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้ชุดการเรียนรู้มีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were to : 1) study the fundamental data for the development of learning package science project instruction for ninth grade student,  2) develop and access the learning package science project instruction for ninth grade student to meet the efficiency criterion of 80/80,  3) implement the learning package science project instruction for ninth grade student and 4) evaluate and improve the learning package science project instruction for ninth grade student. The samples consisted of 33 students of the ninth grade students studying during the second semester in the academic year 2013 of Omnoi municipality school. The duration of the research implementation covered 4 weeks.

The instruments used to collect data were 1) the learning package science project instruction for ninth grade student 2) an achievement test 3) The evaluation form about the ability to do a science project. 4) The evaluation form about scientific mind. The data were analyzed by the statistical means, standard deviation, t-test dependent and content analysis.

The results of this research were:  1.) The students and personal involved revealed the need for the development of package force and motion for enhancing  science project and scientific mind for ninth grade student. 2) The learning package force and motion for enhancing  science project and scientific mind for ninth grade student instruction consisted of 6  contents 1) The Science project 2) Acceleration and the net force 3) The action and reaction forces 4) Buoyancy of the liquid 5) Moment of force 6) The Force to keep an object in motion met the criterion of 85.15/81.20. 3)The result of the Implement of are teaching students to be searched manually by Project-based teaching with traditional teaching Inquiry (5E) The achievement of the student after studying using the learning package science project are statistically higher than the achievement befor studying the learning package science project. Students have the ability to do a science project was are good level. Skilled in research and scientific mind at the good level.

4. The result of the assessment and development of learning package force and motion for enhancing  science project and scientific mind for ninth grade student that  The achievement of the student after studying using the learning package science project are statistically higher than the achievement befor studying the learning package science project at the .05 level.  Student behavior that reflects the spirit of science that most students are honest ,Thoughtful decisions ,realistic ,Patient commitment ,Eagerness to learn at the good level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

มยุรี เจริญศิริ

พนักงานเทศบาล สังกัดกองการศึกษาเทศบาลนครอ้อมน้อย