แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน

Main Article Content

อุลิชษา ครุฑะเสน

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน 2) ศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน 3) สร้างแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(Key Informants)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งมีโครงสร้าง การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างการเรียนรู้เท่าทันสื่อจำนวน 200 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบอุปนัยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป  

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยส่งเสริม

                1.1 ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1)การคิดวิจารญาณ 2) ความตระหนักในอิทธิพลของสื่อ 3) การรู้เท่าทันตนเอง

                1.2 ปัจจัยส่งเสริมที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชนพบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1)กลุ่มเพื่อนและกลุ่มครู 2) การเปิดรับสื่อสร้างสรรค์และการใช้สื่อและเทคโนโลยีสื่ออย่างสร้างสรรค์ 3) การอ่าน 4) สุนทรียภาพ

          2.       องค์ประกอบกระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน พบว่ามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กระบวนทัศน์การเรียนรู้  2) ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ 3)การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย (3.1)การเรียนรู้เชิงรุก (3.2)กระบวนการกลุ่มและการวิเคราะห์อภิปรายแลกเปลี่ยน (3.3)การมีส่วนร่วม (3.4)การใช้สื่อที่เหมาะสมในกิจกรรมการเรียนรู้ (3.5)กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย

(3.6) เนื้อหาการเรียนรู้ที่หลากหลายและบูรณาการเข้ากับวิถีชีวิต (3.7)บรรยากาศการเรียนรู้แนวนอน  4)ความต่อเนื่องในกระบวนการเรียนรู้

            3. แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน จากผลการศึกษา พบว่ามี 4 แนวทาง ดังนี้ 1) แนวทางการฝึกคิดวิจารณญาณ 2) แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันอิทธิพลของสื่อ  3) แนวทางการเรียนรู้จากกระบวนการผลิตสื่อ  4) แนวทางการรู้เท่าทันตนเอง

 

ABSTRACT

            The aims of this dissertation are to study 1) the factors on media literacy learning of youth leader 2) the media literacy learning process of youth leader and 3) the developing of media literacy learning process approach for the youth leader. This mixed research was comprised the qualitative and quantitative method. The qualitative research included literature review and the in-depth interview with 20 key informants. The data collecting tool for the quantitative research was the questionnaire. The population was 200 sampling person.

            The result was found that, there are 2 factors on media literacy learning of youth leader; internal factor and supporting factor.

            For internal factor there are 3 components as 1) critical thinking 2) media effect awareness and 3) self awareness. For supporting factor there are 4 components as 1) friend and teacher 2) media exposure and media uses 3) reading and 4) aesthetic

            For media literacy learning process factors on youth leader, there are 4 components as 1)learning paradigm 2) learning facilitator 3)learning process design with 7 components; (3.1)active learning (3.2)group process and discussion (3.3)participation (3.4)media (3.5)variety activities (3.6)various contents & life integrated (3.7)horizontal atmosphere 4)continuity.

          For the developing of media literacy learning process approach for youth leader, there are 4 approaches by the following results; 1.Critical Thinking Approach 2.Media Influence Inoculation Approach 3.Media Production Approach 4.Self Awareness Approach

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ