อัตลักษณ์แห่งตัวตนในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในมุมมองของอาจารย์กลุ่มศิลปะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี

Main Article Content

สิริชัย ดีเลิศ

Abstract

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองในการสร้างอัตลักษณ์แห่งตัวตนและกระบวนการในการสร้างผลงานสร้างสรรค์ ของอาจารย์กลุ่มศิลปะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษารายกรณี (Case Study) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างอัตลักษณ์แห่งตัวตน ในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน มีการหล่อหลอมแนวทางความคิดจากพื้นฐานด้านงานศิลปะ ความถนัดของบุคคล ความชอบ ความสนใจ จากบริบทของสังคมที่แวดล้อมรอบตัวตนของศิลปิน โดยผู้สร้างสรรค์ผลงานต้องค้นพบตัวตนที่แท้จริงหรือแก่นแท้ของตัวตน จึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตน (Individual) อย่างโดดเด่นและมีความเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ส่วนรูปแบบ (Style) ผลงานของแต่ละบุคคลเป็นเพียงแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของแต่ละบุคคล ผู้ให้ข้อมูลหลักจำแนกศิลปินเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่สร้างผลงานศิลปะแบบบริสุทธิ์ ซึ่งมีความเป็นอัตลักษณ์สูง 2) กลุ่มศิลปินเชิงพาณิชย์สร้างผลงานเพื่อการพาณิชย์ไม่เน้นความเป็นอัตลักษณ์ การถ่ายทอดหรือสร้างอัตลักษณ์แห่งตัวตนต้องใช้ระยะเวลานาน ทำให้สามารถถ่ายทอดได้เพียงพื้นฐานศิลปะและความสร้างสรรค์ ที่ประยุกต์กับเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

 

Abstract

          This Research was a qualitative research. It applies the methodology of case study. 5 Key informants were the Lecturer in Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University. The purpose was to study self-identity and process for creative arts about Perspective of Lecturer Faculty of Information and Communication Technology. It was found that Self-Identity to formulated from basic arts, idea and context. First Artist find core self-identity and using context to creative individual arts and use style to create arts.  The informants divided artists into 2 group, they were (1) Pure Arts artists, be whom emphasized in pure arts and found themselves with highly self-identity, and 2) Commercial Arts purposes with needed not emphasize in self- identity. Self- Identity used long term but it can teaching in short term for basic arts and creative thinking.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ