การศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม

Main Article Content

นวพร นาคนาเกร็ด

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้อีเลิร์นนิงสำหรับการเรียนการสอนของอาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ประชากรสำหรับตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม จำนวน 89 คน 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์ เพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง ของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม จำนวน 11 คน ได้แก่ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม จำนวน 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่ นักวิชาการในสถาบันการศึกษา จำนวน 3 ท่าน  และผู้เชี่ยวชาญด้านอีเลิร์นนิง จำนวน 3 ท่าน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  1) แบบสอบถามสภาพการใช้อีเลิร์นนิงสำหรับการเรียนการสอนของอาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม  2) แบบสัมภาษณ์แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงสำหรับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ( )  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ( )  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า 1)  สภาพการใช้อีเลิร์นนิงสำหรับการเรียนการสอน ของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.58 = 0.396) โดยแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของเทคโนโลยี  มีระดับความพร้อมมาก( =3.86 = 0.629)  ส่วนลักษณะการนำอีเลิร์นนิงมาใช้ในจัดการเรียนการสอน มีระดับการนำไปใช้ปานกลาง ( =2.51 = 0.606) ด้านความพร้อมของบุคลากร มีระดับความพร้อมน้อย  ( =2.37  = 0.593) และด้านการส่งเสริมและสนับสนุน มีระดับความพร้อมน้อยที่สุด  ( =1.20  = 0.303)  2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม สรุปได้ว่า  2.1) ด้านความพร้อมของบุคลากร ควรสร้างทัศนคติเละพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทางด้านการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม

และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในภายนอก ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบทำหน้าที่ดูแล พัฒนา ให้คำปรึกษากับอาจารย์ผู้สอน 2.2) ด้านความพร้อมของเทคโนโลยี จะต้องพัฒนาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี พัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตให้ดี และพัฒนาให้สอดคล้องกันไปกับผู้เรียน ผู้สอน และสามารถรองรับการใช้งานได้ตลอดเวลา  ต้องมีบุคลากรที่ดูแลรับผิดชอบเฉพาะโดยตรงมาดูแลในด้านนี้ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ควรพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบัน และแต่ละรายวิชา โดยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเมื่อต้องการ 2.3) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐมเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิง และควรกำหนดนโยบาย เงินทุนที่ชัดเจน บรรจุลงในแผนการดำเนินงาน จัดให้มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ หรือการจัดอบรมให้ความรู้  2.4) ลักษณะการนำอีเลิร์นนิงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ควรมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ช่วงวัยของผู้เรียน ควรดูความพร้อมของผู้เรียน ว่ามีความพร้อมในลักษณะอย่างไร ดูวัสดุอุปกรณ์ว่ามีความพร้อมอย่างไร สื่อที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร เป็นสื่อหลัก สื่อเสริม หรือสื่อเพิ่มเติม ควรที่จะนำมาพัฒนาให้เป็นบทเรียนอีเลิร์นนิง

 

Abstract

            The purpose of this research were:  1) to study status of using e-Learning in teaching and learning in Nakornpathom Vocational College, 2) to propose an approach of teaching by using e-Learning in Nakornpathom Vocational College. The population and sample were comprised of 2 groups. The first group was for answering questionnaires. They were 89 instructors of Nakornpathom Vocational College. The second group was purposively selected, 11 people of Nakornpathom Vocational College were purposively selected. Five of them were administrators. Three of them were educators. Three were e-Learning experts. All 11 of them were interviewed to find appropriate guidelines of instruction by e-Learning. Research instrument were questionnaires on status using e-Learning for instruction and structured interview on guidelines of e-Learning to be used in Nakornpathom Vocational College. Data analysis in content, frequency, percentage, the average, and standard deviation were used to analyze data obtained.

            The results of the research were as follow:

          1)       The using of e-Learning in teaching and learning at Nakornpathom Vocational College was overall at medium level ( =2.58 = 0.396). While technology readiness was found at high level ( =3.86 = 0.629). Using e-Learning in instruction was found at medium level ( =2.51 = 0.606). The instructors readiness was found at low level ( =2.37  = 0.593). The promotion and supporting was found at the least level ( =1.20 = 0.303). 

         2)       For guidelines to use e-Learning in instruction at Nakornpathom Vocational College, the study found that there should be concentration on the following aspects: (1) Increasing personnel attitude and knowledge by providing e-Learning training and encouraging instructors to attend training. At the same time, there should be responding people to give advice to instructors and interested people., (2) providing hardware, software, especially the internet network, to be used effectively along with supporting personnel to take responsibility of the technology equipments., (3) for supporting and servicing, administrators at all levels should emphasis on e-Learning approach and issue policy, allocate budget, and set up plan to promote and to support e-Learning method effectively., (4) for using e-Learning in the College efficiently, environment, learner’s age, learners’ readiness are needed to study and provide appropriate hardware and devices to be medium for instruction. Lessons in each subject at particular content should be taught by using e-Learning approach.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ