การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย รูปแบบ และกลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบ ต่อสังคมของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)

Main Article Content

วรรณพร เรืองโสภณ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้ความหมายที่มาของความหมาย รูปแบบ กลยุทธ์ ปัญหาและอุปสรรค รวมไปถึงวิธีจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้อำนวยการของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

          ผลการศึกษาพบว่ามูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมว่า เป็นส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อความต้องการและเป้าหมายของสังคม โดยการเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและกระตุ้นให้คนในสังคมนั้นตระหนักถึงปัญหาและร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นการตระหนักในการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นแก่คนรุ่นใหม่ที่มาเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคมโดยจิตสำนึกที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการลงพื้นที่เพื่อการปฏิบัติงานจริง และเรียนรู้การเป็นอาสาสมัครที่ทำประโยชน์ให้สังคม โดยไม่หวังผลประโยชน์ของตนและต้องมีกิจกรรมที่ทำประโยชน์ต่อคนส่วนรวมในสังคมอย่างต่อเนื่องและวัดผลที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เพียงการทำกิจกรรมเพราะต้องการสร้างกระแสหรือสร้างภาพ ดังนั้นการสร้างจิตอาสาของอาสาสมัครเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)  ใช้กลยุทธ์การสร้างจิตสำนึกที่แท้จริงของการเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมการตระหนักรู้ และการสร้างเครือข่ายทั้งในและนอกประเทศ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวความคิดของกิจกรรมเพื่อสังคมเชิงองค์กร (Corporate-Driven Social Initiatives)ของ Phillip Kotler และ Nancy Leeคือ การบริจาคเพื่อการกุศลโดยองค์กรธุรกิจ (Corporate Philanthropy) กิจกรรมพนักงานจิตอาสา (Workforce Volunteering) และการประกอบธุรกิจด้วยวิธีที่รับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices) โดยปัญหา อุปสรรค และวิธีการจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) คือ อาสาสมัครเพื่อสังคมที่เข้าร่วมในกิจกรรม ขาดความต่อเนื่องในการ

ดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม ทางมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) จึงมีแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการส่งตัวแทนของมูลนิธิหรือพี่เลี้ยงเข้าติดตามทุกความเคลื่อนไหวของอาสาสมัคร และส่งผลรายงานต่อมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ปัญหาด้านเงินทุนเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) แก้ไขปัญหาด้วยการพึ่งเงินทุนจากต่างประเทศให้น้อยลงและพึ่งตนเองมากขึ้นด้วยการเปิดรับบริจาคจากองค์กรธุรกิจต่างๆ

 

Abstract

            This research aims to examine definition, source of meanings, forms, strategies, problems and obstacles including the way to handle problems and obstacles in corporate social responsibility activities (CSR) of Thai Volunteer Service Foundation (TVS). This qualitative research was conducted by analyzing relevant documents and collecting data using in-depth interview with the director of Thai Volunteer Service Foundation (TVS). Research tool was interview questions. Data analysis was made by descriptive analysis.

          In result, it was found that Thai Volunteer Service Foundation (TVS) defined corporate social responsibility as the job related to positive influence on social needs and goals. It is aware of the problems and encourages the people to realize the problem and work together to cause positive changes to the society. Moreover, it creates good sense for new generations, who have become social volunteers. Such good sense was caused by the actual work on site and learning how to become volunteers and make benefits for the society without expecting their own benefits. They have to work for the society continuously and their results must be measurable. It is not just doing activities to create the trend or image. Therefore, the establishment of long-lasting serviced-minded volunteers of Thai Volunteer Service Foundation (TVS) applies the strategy to create the real conscious of social volunteers in performing activities for the society. This causes social changes in awareness and network establishment both inside and outside of the country for mutual support in carrying out social responsibility activities according to the concept of Corporate-Driven Social Initiatives of Phillip Kotler and Nancy Lee. These include Corporate Philanthropy, Workforce Volunteering, and Socially Responsible Business Practices. The problems, obstacles and solutions for problems and obstacles arisen from corporate social responsibility activities of Thai Volunteer Service Foundation (TVS) were because the volunteers attended the activities lacked of continuity in performing the social responsibility activities. Therefore, Thai Volunteer Service Foundation (TVS) has determined the solution for such problem by sending its representatives or assistants to follow up the volunteers and report to Thai Volunteer Service Foundation (TVS). About the issue of finance to support social responsibility activities of Thai Volunteer Service Foundation (TVS), the solution is to depend less on foreign fund and rely on oneself by requesting donation from business organizations.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ