ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์และค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยบางประการ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อัตมโนทัศน์ ลักษณะมุ่งอนาคต การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย สัมพันธภาพภายในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ที่ส่งผลต่อทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 786 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามทักษะชีวิต แบบสอบถามอัตมโนทัศน์ แบบสอบถามลักษณะมุ่งอนาคต แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .927 .771 .877 .901 .919 .893 .797 และ .887 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression: MR)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรปัจจัย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อัตมโนทัศน์ลักษณะมุ่งอนาคต การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย สัมพันธภาพในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน กับทักษะชีวิต มีค่าเท่ากับ .706 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกำลังสองของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรปัจจัยกับทักษะชีวิตมีค่าเท่ากับ 0.498 ซึ่งแสดงว่าตัวแปรปัจจัยทั้ง 8 ตัวแปรร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของทักษะชีวิตได้ร้อยละ 49.80
2. ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อัตมโนทัศน์ ลักษณะมุ่งอนาคต การสนับสนุนทางสังคม และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ส่งผลทางบวกต่อทักษะชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้าน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูส่งผลต่อทักษะชีวิต(Y) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐาน พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะมุ่งอนาคตส่งผลทางบวก ต่อทักษะชีวิตมากที่สุด โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .316 รองลงมาคือปัจจัยด้านอัตมโนทัศน์ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน การสนับสนุนทางสังคม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู สัมพันธภาพในครอบครัว ซึ่งมีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.207, 0.195, 0.090, 0.068, 0.057, 0.056 และ -0.029 ตามลำดับ
Abstract
The purposes of this reseach were to study the relationship between some factors and life skills and to study the beta weight of factors contributed to life skills. The sample comprised of 786 mathayomsuksa V students in the Secondary Education Service Office Area II that was selected by using the two- stage random sampling. The instruments used in the research were the questionnaire consisted of life skills, achievement, self-concept, future orientation, democratic parental style, withnessed an inside family, social support, withnessed between students and teacher and withnessed between students and friend (5-rating scale). The reliability of instruments were .927, .771, .877, .901, .919, .893, .797 and .887 respectirely. The data were analyzed by multiple correlation and multiple regression analysis.
The result of research were as follows:
1. The multiple correlation coefficient between achievement, self-concept,
future orientation, democratic parental style, withnessed an inside family, social support, withnessed between students and teacher and withnessed between students and friend were .701 which were statistically significance at .01 level. All factors explained variance of life skills at 49.80 percentage.
2. Achievement, self-concept, future orientation, social support, and withnessed between students and friend were positive contributed to life skills statistically significance at .01 level The most beta weight future orientation which contributed to life skills were aqualed .316 and the beta weight of another factors which contributed to life skills were 0.207, 0.195, 0.090, 0.068, 0.057, 0.056 and -0.029 and democratic parental style, withnessed an inside family, withnessed between students and teacher were not contributed to life skills.