การประยุกต์ใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก

Main Article Content

สุธี เสริมสุข

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรม
โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลกครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรม โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ผลกระทบไขว้มาใช้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรมของวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก และ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวทางมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาชีพ ประเภทช่างอุตสาหกรรมของวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย ครูผู้สอนในรายวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 8 คน ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ  และประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  จำนวน 5 คน และเจ้าของสถานประกอบการ จำนวน 78 คน จากสถานประกอบการ 78 แห่ง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการเชิงปริมาณผสานกับวิธีการเชิงคุณภาพโดยการสอบถาม การประเมิน และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ได้แก่ แบบประเมิน 3 ฉบับ และแบบสอบถาม 1 ฉบับ  ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาชีพได้จริง มีขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอนที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาชีพประกอบด้วย ขั้นตอนแรกเป็นการระบุและจัดลำดับความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เรียนประเภทช่างอุตสาหกรรม ขั้นตอนที่สอง เป็นการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะ  และความรู้ทางด้านวิชาชีพไม่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ  ขั้นตอนที่สาม เป็นกำหนดแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะผู้เรียนด้านความรู้วิชาชีพ  และทักษะวิชาชีพตรงตามต้องการของสถานประกอบการ และแนวทางส่วนใหญ่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เรียนให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการได้ในระดับมากถึงมากที่สุด

 

Abstract

            The purposes of this study were 1) to examine a model for developing a professional course on industrial mechanic under the vocational education commission through the use of a cross-impact analysis 2) to assess the feasibility of the guidelines used in the develop a professional course on industrial mechanic of Phitsanulok Technical College. The research sample consisted of  8 personnel teaching Electronics and Electricity subject, 5 well-experienced experts on Electronics and Electricity subject and 78 Entrepreneurs from 78 workplaces. The data collection was through a query, an evaluation and a focus group technique being a combination of a quality and quantity method. The research tools consisted of 3 assessment forms and 1 questionnaire.

          The findings showed that the developed model can be applied develop  professional course.  There are 3 important step process. The 1st one was to determine and prioritize the needs of the characteristics of a person entering the industrial mechanic course. The 2nd one was to analyze the causes resulting in the learners’ acquiring the unneeded skills and knowledge for the work places.  The 3rd one was to establish a guide line to help develop a professional curriculum to correctly produce a graduate with the required characteristics, correct knowledge and the right skills needed in the work places. most of the introduced solutions were good and correct at a high level to the highest level for the development of the knowledge and the skills of the learners leading to the fulfillment of the needs of the work places.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ