ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการคิดเชิงกลยุทธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยการวิเคราะห์พหุระดับ

Main Article Content

อรทัย เจนจิตศิริ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาตัวแปรอิสระระดับนักเรียน ได้แก่ ความสามารถด้านเหตุผล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และตัวแปรอิสระระดับห้องเรียน ได้แก่ พฤติกรรมการสอนของครู สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน ที่ส่งผลต่อการคิดเชิงกลยุทธ์ของนักเรียนและเพื่อศึกษาความแปรปรวนร่วมของตัวแปรต่างระดับที่ส่งผลต่อการคิดเชิงกลยุทธ์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 1,925 คน จาก 77 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดการคิดเชิงกลยุทธ์ แบบทดสอบความสามารถด้านเหตุผล แบบสอบถามวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบสอบถามวัดการอบรมเลี้ยงแบบใช้เหตุผล แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการสอนของครู และแบบสอบถามวัดสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.751 , 0.276 , 0.949 , 0.976 , 0.950 และ 0.928 ตามลำดับ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์พหุระดับด้วยเทคนิคลดหลั่นเชิงเส้นตรง มีรูปแบบการวิเคราะห์ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียนและระดับห้องเรียน

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ตัวแปรอิสระระดับนักเรียน ได้แก่ ความสามารถด้านเหตุผลและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ส่งผลทางบวกต่อการคิดเชิงกลยุทธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล        ส่งผลทางบวกต่อการคิดเชิงกลยุทธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับตัวแปรอิสระระดับห้องเรียน ได้แก่พฤติกรรมการสอนของครูส่งผลทางลบต่อการคิดเชิงกลยุทธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01          ส่วนสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนส่งผลทางบวกต่อการคิดเชิงกลยุทธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่   ระดับ 0.05

          2.       ตัวแปรอิสระระดับนักเรียนและระดับห้องเรียนสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดเชิงกลยุทธ์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้ร้อยละ 28.45

 

Abstract

            The purposes of this research were 1) to study the independent variables at student level (i.e. reasoning ability , achievement motivation , reasoning–oriented child  rearing) , the independent variables at classroom level (i.e. teaching behaviors and relationship between teacher and student) affecting on the students’ strategic thinking and  2) to study the covariation of student and classroom level factors affecting students’ strategic thinking. The sample consisted of 1,925 students from 77 classes of Mathayom-suksa V in the academic year 2012 of school under the secondary educational service  area I which selected by using the multi–stage random sampling. The instruments that used for data collection were the strategic thinking test , reasoning ability test and the questionnaires on achievement motivation , reasoning–oriented child rearing , teaching behaviors and relationship between teacher and student. The reliability of instruments were 0.751 , 0.276 , 0.949 , 0.976 , 0.950 and 0.928 respectively. Multi–level analysis technique through Hierarchical Linear Model at two levels (student level and classroom level) were used to analyze data.

            The results of the research were as follows :

            1. For student level , reasoning ability and achievement motivation positively contributed to the strategic thinking statistically significant at the 0.01 level. But reasoning–oriented child rearing did not contribute to the strategic thinking. For classroom level , teaching behaviors negatively contributed to the strategic thinking statistically significant at the 0.01 level and relationship between teacher and student positively contributed to the strategic thinking statistically significant at the 0.05 level.

          2. The variables of student level and classroom level could explain the variation of Mathayomsuksa V students’ strategic thinking at 28.45%

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ