การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

เสมอ จัดพล

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 2) คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3) ความสัมพันธ์ของการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 4) แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในการวิจัยครั้งนี้ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สูงอายุจำนวน 400 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 15 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 คน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 คน และนักพัฒนาชุมชน จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา   รายด้าน พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านลาด มีการจัดการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง และด้านที่มีการจัดการในระดับต่ำสุด ได้แก่ ด้านที่พักอาศัย  2. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม รองลงมาได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านที่ต่ำสุด ได้แก่ ด้านร่างกาย 3. การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์มากที่สุด ได้แก่ การจัดสวัสดิการด้านนันทนาการกับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย รองลงมาคือ การจัดสวัสดิการด้านที่พักอาศัยกับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และด้านที่มีความสัมพันธ์กันต่ำสุด ได้แก่ การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลกับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ 4. แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลต้อง 1) ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล 2) จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ และจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ 3) จัดบริการครอบครัวอุปการะ

ผู้สูงอายุ 4) จัดสวนสุขภาพและลานออกกำลังกาย 5) คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุ และ 6) จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและเครือข่ายผู้สูงอายุ

               ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลต้องส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ โดยใช้หลักการบริหารเชิงรุก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน จัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการทำงานและบูรณาการกิจกรรมร่วมกัน

 

Abstract

            The objectives of this research were to study 1) social welfare management,   2) quality of life of the elderly, 3) relationship between social welfare management and quality of life of the elderly, and 4) guidelines on social welfare management for developing quality of life of the elderly. The study involved both quantitative and qualitative aspects. Quantitative data were collected from 400 samples who were the elderly and qualitative data were collected from 15 samples : 5 chief executives, 5 chief administrators, 5 community developers in subdistrict administration organization in Banlat District, Phetchaburi. A questionnaire and an interview were employed as data collecting tools. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and content analysis.

          The research results revealed that : 1. The social welfare management for the elderly as  a whole was at a moderate level. When considering each aspect, it was found that the subdistrict administration organization had the operation in the aspect of health and health care at the highest level, followed by the aspect of social security, family, care and protection, but the aspect of residences was operated at the lowest level. 2. The quality of life of the elderly as a whole was at a moderate level. When considering each aspect, it was found that the elderly had the quality of life at a high level in the aspect of social relations, followed by environment, but the quality of life in the aspect of human body was at the lowest level. 3. The social welfare management had positive relation with the quality of life of the elderly at statistical significance of 0.05. The social welfare management in the aspect of recreation related with the quality of life of the elderly at the highest level, followed by the relationship between the social welfare management in the aspect of residences and the quality of life in the aspect of human body. The lowest relationship level was the social welfare management in the aspect of 

health and health care and the quality of life in the aspect of mind. 4. Guidelines on social welfare management for developing quality of life of the elderly were 1) supporting health care costs 2) establishing provident fund and welfare fund for the elderly 3) supplying foster family for the elderly 4) supporting health garden and exercise park 5) protecting the elderly rights 6) establishing elderly care center and network.

          From the research findings, the subdistrict administration organization has to encourage the social welfare management for the elderly by using active management, promoting the participation of families and communities, training and developing the personnel continuously, establishing network for powering working network, and integrating activities.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ