ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดเชิงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

Main Article Content

ศิรินยา จีระเจริญพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการอบรมเลี้ยงดู           แบบใช้เหตุผล  การสนับสนุนทางสังคมของครู ประสบการณ์ชีวิต การรับรู้ความสามารถของตนเองและ   การกำกับตนเองกับการคิดเชิงบวก  เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลเชิงสาเหตุที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์  และเพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรเชิงสาเหตุที่มีต่อการคิดเชิงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11          ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  จำนวน 1,006 คน  ได้มาจากการสุ่มสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถาม  มี 6 ฉบับ ได้แก่  แบบสอบถามการคิดเชิงบวก  แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบ    ใช้เหตุผล  แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของครู  แบบสอบถามประสบการณ์ชีวิต  แบบสอบถาม การรับรู้ความสามารถของตนเองและแบบสอบถามการกำกับตนเอง  ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.913, 0.886, 0.886, 0.814, 0.910, 0.862  ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง

            ผลการวิจัยพบว่า  ตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการคิดเชิงบวก  อย่างมีนัยสำคัญ   ทางสถิติที่ระดับ .01  และโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดเชิงบวกตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (χ2=8.233, df =4, χ2/df = 2.05, GFI = 0.997, AGFI = 0.986,   RMSEA = 0.033 และSRMR = 0.010)  โดยการคิดเชิงบวกได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดมาจากการสนับสนุน   ทางสังคมของครู (0.682) รองลงมาคือการรับรู้ความสามารถของตนเอง (0.531) ประสบการณ์ชีวิต (0.278)       การกำกับตนเอง (0.236) และการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล (0.235) ตามลำดับ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (0.441) รองลงมาคือ การกำกับตนเอง (0.236) การสนับสนุน ทางสังคมของครู (0.196) และประสบการณ์ชีวิต (0.151)  ตามลำดับ  และตัวแปรที่มีอิทธิทางอ้อมสูงสุด คือ การสนับสนุนทางสังคมของครู (0.486) รองลงมา คือ  การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล (0.235)  ประสบการณ์ชีวิต (0.127) และการรับรู้ความสามารถของตนเอง (0.090) ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้ง 5 ตัว ร่วมอธิบายความแปรปรวนของการคิดเชิงบวกได้  ร้อยละ 70.6 

 

Abstract

            The Purposes of this research were to study relationship between positive thinking and reasoning – oriented child rearing, social support from teacher,                   life experiences, self – efficacy and self regulator to examine consistency of hypothetical causal model with empirical data and to study direct effect and indirect affect of      causal variables influencing positing thinking. The samples selected by two–stage random sampling were 1,006 students of senior high school students under the secondary educational service area XI in Suratthani. The research instruments were 6 questionnaires including positive thinking, reasoning – oriented child rearing, social support from teacher, life experiences, self – efficacy and self regulator. The reliabilities of test were 0.913, 0.886, 0.849, 0.814, 0.910, 0.862 respectively. Path analysis was used to analyze collected data.

          The results of study revealed that all of the variables and positive thinking had positive relationships, statistically significant at 0.01 level. The causal model influencing positive thinking was consistent with empirical data (χ2=8.233, df =4, χ2/df = 2.05,          GFI = 0.997, AGFI = 0.986, RMSEA = 0.033  and SRMR = 0.010 )The highest total affect on positive thinking was social support from teacher (0.682)  followed by self–efficacy (0.531)   life experiences (0.278) and reasoning – oriented child rearing (0.235) respectively. The highest direct variable was self–efficacy (0.441) followed by self regulator (0.236), social support from teacher (0.196) and life experiences (0.151) respectively. The highest indirect variable was social support from teacher (0.486) followed by reasoning – oriented child rearing (0.235), life experiences (0.127) and self–efficacy (0.090) respectively. All causal variables could explained variance of positive thinking at 70.6 %

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ