การสร้างแบบวัดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามกลุ่มงานที่ปฏิบัติ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ 2555 จำนวน 804 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) หาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. แบบวัดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง (r) .205 – .765 ค่าความเที่ยงตรงของแบบวัดด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าแบบวัดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ได้แก่ ด้านนโยบายขององค์การ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด เท่ากับ 0.93 รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารงาน ด้านความก้าวหน้า ด้านลักษณะของงาน ด้านค่าตอบแทน/ความมั่นคง ด้านสภาพการทำงาน ด้านการยกย่อง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านความสำเร็จ และด้านความรับผิดชอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.91, 0.86, 0.84, 0.81, 0.81, 0.79, 0.76, 0.70 และ 0.40 ตามลำดับ คุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พิจารณาจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.40 - 0.93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคมีค่า 0.880
2. บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีกลุ่มงานต่างกันมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสำเร็จ ด้านการยกย่อง ด้านสภาพการทำงาน ด้านการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะของงาน ด้านความก้าวหน้า ด้านค่าตอบแทน/ความมั่นคง ด้านนโยบายขององค์การ ไม่แตกต่างกัน
Abstract
The main purposes of this research were to construction and find out the quality of srinakharinwirot university employees for working morale test and to compare working group the srinakharinwirot university employees with the different level. The sample consisted of 804 personnel working at Srinakharinwirot University during 2012 fiscal year, byusing the stratified random sampling technique. Research to was the morale test. Factor analysis and one way analysis of varience were used for the data analysis and the confirmatory factors were analyzed through LISREL version 8.72 Program
The research results were as follows:
1. The morale test test for srinakharinwirot university employees the item discrimination index ranged from .205 – .765 From the confirmatory factor analysis, it was found that morale test for working consisted of ten factors which were company policies, supervision, advancement, work content, job security, working condition, recognition, interpersonal, achievement and responsibility . The construct validity of the ten factors were 0.93, 0.91, 0.86, 0.84, 0.81, 0.81, 0.79, 0.76, 0.70 and 0.40 respectively. The factor loading ranged from 0.40 - 0.93 and the reliability was 0.880
2. The morale on working achievement, recognition, working condition, supervision, interpersoual for srinakharinwirot university employees with the different level had difference values with a statistical significant of 0.5, but The morale on working on responsibility, work content, advancement, job security and company policies was found not different.