การบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ปิยะพงษ์ สนิทไชย

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาดอำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมทั้งศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาจาก คณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชน ที่ปรึกษากองทุนสวัสดิการชุมชน และผู้เกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชน  ขององค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด รวม 80 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธ์อัลฟ่าของครอนบาชเท่ากับ 0.83 เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 - 31 มีนาคม 2556 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด

            ผลการศึกษาพบว่า ด้านการวางแผน มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน คิดเป็นร้อยละ 92.5 และน้อยที่สุด คือ เปิดรับฟังความคิดและมติของกองทุนฯเพื่อแก้ไขปัญหาปรับปรุงและพัฒนากองทุน คิดเป็นร้อยละ 81.3 ด้านองค์ประกอบ การปฏิบัติมากที่สุด คือ ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการเสนอ ตัดสินใจในการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการในด้านต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 90.0 และน้อยที่สุด คือ มีการพัฒนาศักยภาพการทำงานของคณะกรรมการกองทุนอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 71.3 ด้านบทบาทหน้าที่ การปฏิบัติมากที่สุด คือ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการที่ชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 97.5 และน้อยที่สุด คือ กองทุนมีการสำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกกองทุนอย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 73.8 ด้านการดำเนินงาน การปฏิบัติมากที่สุด คือ กองทุนมีหลักฐานในการรับจ่ายเงินที่สามารถตรวจสอบได้ คิดเป็นร้อยละ 90.0 และน้อยที่สุด คือ มีเงินสำรองในการช่วยเหลือสมาชิกเมื่อเกิดสาธารณภัยต่างๆในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 82.5 และด้านควบคุมการ มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การบริหารกองทุนมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ คิดเป็นร้อยละ 95.0 และน้อยที่สุด คือ มีการควบคุมจำนวนค่าสวัสดิการตามระเบียบเงื่อนไขที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 78.8 ข้อเสนอแนะในการศึกษา พบว่า ควรศึกษามีแนวทางการรับฟังความคิดเห็นของกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาของกองทุนสวัสดิการชุมชน

 

Abstract

            This research aimed to study the community welfare funds management of Yangtalad sub-district administrative organization in Kalasin province. Problems related with the management and suggestions were also explored. The data was collected from the committees, the counselors, and other participants using simple random sampling (n = 80). The instrument was tested for content validity by three experts. Then it was tested for reliability with Cronbach’s alpha method (0.83).  The data collection was carried out from 1 st to 31st March, 2013. Frequency, percentage, means, standard deviation, minimum and maximum were used to analyze the data.

          The results showed that, for planning aspect, the highest practice was the coordinating with public and private sectors (92.5%) whereas the lowest practice was the gathering opinions to improve the funds management (81.3). For component aspect, the highest practice was the member participation in benefit and welfare package (90.0%) while the lowest was the continuous improvement of management by the committee (71.3%). For the role aspect, the highest practice was the clearly defined roles of the committee (97.5%) whereas the lowest practice was the regular survey to improve member database (73.8). For process aspect, the highest practice was the available of financial statements for inspection (90.0%) whereas the lowest was the available of financial supports for public disasters (82.5%). For controlling aspect, the highest practice was the transparency of the management (95.0%) while the lowest was the control of welfare payment according to the regulations (78.8%). Lastly, as a suggestion, there should be a guideline to gather the opinions from stake holders in order to solve those problems related with the funds management.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ