วาทกรรมการสร้างความเป็นอื่นของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยฐานะพลเมืองของโลก

Main Article Content

พิทักษ์ ไปเร็ว

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการสร้างวาทกรรมความเป็นอื่นของแรงงานข้ามชาติในโรงงานแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาครและกระบวนการผลิตซ้ำทางสังคมในภาคปฏิบัติการทางสังคมเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีวิทยาการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse  Analysis) ตามแนวทางของแฟร์คลาฟ (Norman Fairclough) โดยวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าของสถานประกอบการ จำนวน 1 คน เพื่อนร่วมงานของแรงงานชาวไทย จำนวน 1 คนและแรงงานข้ามชาติของโรงงาน จำนวน 5 คน แยกเป็นแรงงานจากประเทศพม่า จำนวน 3 คน และแรงงานจากประเทศลาว จำนวน 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์วาทกรรม โดยวิเคราะห์จากตัวบท ภาคปฏิบัติทางวาทกรรมและภาคปฏิบัติทางสังคม

            ผลการศึกษาพบว่าการสร้างวาทกรรมการสร้างความเป็นอื่น (Otherness) ของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยที่โรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาครเกิดขึ้นจากตัวบท (Context) และภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม (Discursive Practice) มีดังนี้ 1) การกำหนดด้านแบ่งเขตแดนรัฐ-ชาติ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานจะทำหน้าแบ่งความเป็นพวกเรา พวกเขา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นโยบายต่างๆ ของรัฐโดยอัตโนมัติ 2) ด้านการรักษาพยาบาลแก่แรงงานข้ามชาติทั้งทางด้านตัวบทกฎหมายเป็นที่มาของการปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติเช่นกัน 3) การรักษาพยาบาลที่หน่วยงานของรัฐกำหนดขึ้นสามารถดำเนินไปตามที่ตัวบท นโยบาย กำหนดไว้ 4) สังคมของการอยู่ร่วมกันไม่ได้มีความรุนแรงมาก มีบ้างที่แบ่งแยกกันเพราะมาจากคนละประเทศ

          การวิเคราะห์ภาคปฏิบัติการทางสังคม (Social Cultural Practice) การปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติทั้งพม่า กัมพูชา และ ลาว ยังมองกันแบบแตกต่าง ปฏิบัติต่อกันด้วยความไม่เท่าเทียม หรือเหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่  ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ประชาชนชาวไทย ดังนั้นภาครัฐต่อรัฐต้องสร้างความเข้าใจก่อนที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและความพร้อมไปสู่การเป็นพลเมืองของโลก ทั้งนี้ทุกประเทศจะต้องสร้างความเหมือน ไม่ใช่ความต่างกันที่เราเรียกกันว่า “ความเป็นอื่น”

 

Abstract

            Research objective to study the otherness discourse of other country labor in Thailand as a world citizen at manufacturing in Samutsakhon province. Qualitative research study by discourse analysis methodological follow Norman Faircough model. Data analysis from documentary and indepth interview 1 employer, 1 Thai’s employee, 5 employees who are other country labor; 3 Myanmar’s employees and 2 Laos’s employees. Discourse analysis by context, discursive practice and social cultural practice.   

            The result of this study within context and discursive practice are 1) Government officer autonomous discriminate other country thus labor they followed the rule, policy; 2) Health care benefit for other country labor was not equal by health care benefit officer; 3) Health care benefit officer autonomous discriminate other country thus labor they followed the rule, policy and 4) Other country labor’s lifestyle is not unity of them hence they came from much countries.        

            Social cultural practice for other country labor ; Myanmar Cambodia and Lao were discriminated and not equal but different by each country in Thailand from government officer and Thai people. Thus each country must construct, give information regarding Asian of Economic Community and World Citizen. Finally all country should understand one world one citizen. Thus each country does not construct “The otherness”.         

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ