แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดโบราณบางพลี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดโบราณบางพลี และกำหนดแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดยศึกษาจากประชากรในชุมชนทั้ง 6 แห่งของเทศบาลตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จากตัวอย่างจำนวน 322 คนโดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95% และยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ ±10% ของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร และเก็บตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportion) และเลือกผู้ตอบแบบสอบถามแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้ค่าสถิติ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบที (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ซึ่งการมีนัยสำคัญจะทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างของกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกเทศมนตรีตำบลบางพลีใหญ่, ประธานชุมชน  และผู้ประกอบการจำนวน 6 คน

          ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.8 และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุช่วง 40–49 ปี มากที่สุด และมีการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวนมากที่สุด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย มีรายได้ระหว่าง 10,000–19,999 บาทมากที่สุด 2. โดยภาพรวมประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมทั้ง 5 ด้านระดับน้อย เมื่อพิจารณาประเด็นรายด้านพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมวางแผน และการมีส่วนร่วมประเมินผล ระดับการมีส่วนร่วมน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมใช้ประโยชน์  และระดับการมีส่วนร่วมปานกลาง ได้แก่ การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมร่วมดำเนินกิจกรรม 3. ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศแตกต่างกันจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดโบราณบางพลี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยภาพรวมละประเด็นรายย่อยไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ การศึกษา รายได้ และอาชีพที่แตกต่างกันจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดโบราณบางพลี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยภาพรวมและประเด็นรายย่อยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เช่นกัน 4. ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลสำคัญพบว่า ประชาชนในชุมชนได้รับทราบข้อมูลการมีส่วนร่วมน้อย ขาดความรู้และเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวยั่งยืน มีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนน้อย และความขัดแย้งในผลประโยชน์ 5. ข้อเสนอแนะการวิจัยเทศบาลตำบลบางพลีควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมมือมากขึ้น เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประเพณีสู่รุ่นลูกหลาน และดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลับมาเยือน นอกจากนั้นหน่วยงานภาครัฐต้องจัดการปัญหาอย่างจริงจัง พัฒนาตลาดโบราณบางพลีให้เจริญขึ้น ดังนั้นควรกำหนดแนวทางพัฒนา โดยให้เพศชายมีส่วนร่วมมากขึ้นและให้มีความหลากหลายในด้านอายุ การศึกษา รายได้และอาชีพ และให้มีส่วนร่วมมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการวางแผนและด้านการประเมินผล เพื่อ 1.พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งให้เกิดพลังของประชาชนในชุมชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา 2.พัฒนาชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนสอดคล้องกับ ประเพณีวัฒนธรรม ค่านิยมและความต้องการของประชาชน สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

 

Abstract

            The objectives of this research were to study the levels of participation of community and the opinion and recommendations towards community participation development at the old Bangplee market for sustainable tourism. The study looked at both quantitative and qualitative data. Quantitative data was collected by questionnaire. The sampling group was 314 households. In addition, qualitative data was collected by semi-structured interview and analyzed by descriptive approach (Content Analysis). The sampling group as the key informant were local government, community leaders, and local business entrepreneurs (6 people). A 95% of confidence level and margin of error ±10% of population standard deviation. The data were analyzed using descriptive statistics to find the frequency, percentage, mean, t-test, One-way ANOVA and Scheffe’s Method.

          The results of this study showed that 1. mostly respondents as female, 40-49 year old, primary school, entrepreneurs and 10,000-19,999 Baht earning. In addition, 2. the community participation in sustainable tourism at The old Bangplee market was at a low level. 3. Personal factors significantly affecting participation in sustainable tourism were: age, occupation, income and education made significant difference to participation in sustainable tourism (at p<0.01). Sex did not make significant difference to participation in sustainable tourism. 4. The opinions of key informants to the community participation were as lack of information about participations, lack of knowledge and understanding about sustainable tourism, and lack of proper cooperation between local people and local government officers and conflict in interests. In addition, the local government officers did not give an opportunity to local people to participate in planning and assessment seriously. 5. The result of this study recommended that the local government officers should be given more information about participation and more participating in planning, implementation, utilization, benefit sharing and evaluation especially in planning and evaluation. In addition, this will encourage local people to give their opinions and participate more and show the benefits as they received. Local people should more cooperate with local government and follow the rules strictly in sustainable tourism.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ