การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และรูปแบบการทำบุญ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ศศิธร เหล่าเท้ง
ลาวัลย์ พุ่มพฤกษ์
ศุภศิริ ศรีตระกูล

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และรูปแบบการมาทำบุญของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เมื่อผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้วจึงนำข้อมูลมาถอดเทปการสนทนาแบบคำต่อคำ (Verbatim) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทัศนคติของเยาวชนต่อการให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และรูปแบบในการมาทำบุญ ผลจากการศึกษาพบว่านักเรียนได้ให้ความหมายของการทำบุญ โดยกล่าวว่าการทำบุญเป็นสิ่งที่ทำแล้วส่งผลให้ตนเองและคนอื่นเกิดประโยชน์ มีความสุขใจ สบายใจ จิตใจสงบ ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เป็นการให้ทาน สร้างความดี เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับและเจ้ากรรมนายเวร ซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากเจตนาที่ดี

          สิ่งที่ทำให้เยาวชนให้คำตอบของความหมายการทำบุญข้างต้นนั้น มาจากการเล็งเห็นว่าการทำบุญเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นการทำบุญตามการบอกกล่าวและชักชวนจากผู้อื่น เป็นความเชื่อและการปลูกฝังจากคนในครอบครัว และบางคนให้เหตุผลว่าเป็นความคิดของตัวเองซึ่งผลของการทำบุญทำให้จิตใจสงบ นอกจากนั้นการทำบุญยังมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การบริจาคสิ่งของหรือเงิน การอุปการะเด็กกำพร้า การให้ความช่วยเหลือผู้อื่น การปฏิบัติตามศีลธรรม การทำบุญในวันสำคัญตามศาสนาหรือประเพณี การคิดและทำในสิ่งที่ดีในโอกาสสำคัญเป็นต้น อีกทั้งการทำบุญในทรรศนะของนักเรียนถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายไม่ต้องเตรียมตัวมากนัก เพียงแต่แต่งกายให้สุภาพ จัดเตรียมสิ่งของตามสมควรเท่านั้น จำนวนเงินของเยาวชนที่ใช้ในการทำบุญแต่ละโดยส่วนใหญ่จะทำบุญโดยไม่ทำให้ตัวเองเดือนร้อน ทำตามกำลังทรัพย์ที่ตนเองหรือครอบครัวมี เพราะมีมุมมองว่าความสำคัญของการทำบุญไม่ได้ขึ้นอยู่ที่จำนวนเงิน อีกทั้งมีความเห็นเกี่ยวกับทัศนคติการทำบุญว่าไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก แค่มีส่วนช่วยเหลือผู้อื่นก็ถือเป็นการทำบุญรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการทำบุญจึงหมายถึง การให้ การแบ่งปัน การทำความดี ทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ การทำบุญทำได้ทุกที่ และการทำบุญเป็นวิธีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

 

Abstract

          The objective of this research is to study the definition, the source of meaning, and the kind of making merit of students in the Demonstration school of Silpakorn University is a quantitive research by suing qualitative analysis. When researchers have already compiled all data.Then, bring them to make verbatim paraphrase and analyze juvenile attitude about definition, source of meaning and the kind of making merit. The result of this study found that the students definite of making merit is something they did that brought about some benefits to themselves and others, made them calm-hearted and didn’t lead  to trouble. It is the good contribution, make charity for the deceased and do things with good mind. What make them definite that because they appreciated that making merit is assistance without reward by other’s persuasion. It is belief and fostered by family. Someone gave a reason that making merit is his thought which make him calm. Moreover, there are many kinds of making merit such as money donation, supporting orphans, giving someone a hand, conforming to morals and making merit on Buddhist holydays. It is simple and easy to prepare oneself for making merit, just well-dressed and arrange properly. They usually donate the amount of money they can because making merit don’t depend on the cost, just being a part of aid. Making merit is giving, sharing, doing good things with pure mind. We can make merit everywhere and it’s one of methods to maintain Buddhism.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ