ภาพกว้างทางทฤษฎีบนการสื่อสารเชิงซ้อนในสังคมอาเซียน

Main Article Content

จอห์นนพดล วศินสุนทร

Abstract

บทคัดย่อ

            การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมเข้าเป็น ประชาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ให้เกิดขึ้นภายในปี  2558  ได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการศึกษาวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้ทางการสื่อสารในสังคม บทความนี้จึงต้องการนำเสนอภาพกว้างทางทฤษฎีเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ให้สามารถใช้อธิบายหรือทำนายการสื่อสารในสังคมอาเซียนได้หลากหลายแง่มุมมากขึ้น บนการสื่อสารเชิงซ้อนในบริบทอาเซียนเพื่อให้เห็นมุมมองในกลุ่มทฤษฎีการสื่อสารกระแสหลัก (Mainstream of Communication Theory) และกลุ่มทฤษฎีการสื่อสารกระแสวิพากษ์แนวใหม่  (Neo-critical of Communication Theory)

            การสื่อสารในสังคมอาเซียนเบื้องต้นสามารถมองในลักษณะแบบจำลองทางการสื่อสารที่สำคัญตามที่ เดวิด เค เบอร์โล เสนอองค์ประกอบไว้คือ  ผู้ส่งสาร (Sender) สาร (Message) ช่องทาง (Channel) และผู้รับสาร (Receiver)  นอกจากนี้สังคมอาเซียนยังมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปในแบบเชิงซ้อนในด้านต่างๆ จนกลายเป็นความลื่นไหลของวัฒนธรรมโลก (GlobalCultural Flow) จนเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมภายในสังคมอาเซียนที่จะพบทั้งความขัดแย้ง การต่อรอง และการคล้อยตาม ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ ท้องถิ่นภิวัตน์ และนโยบายภิวัตน์ อาทิ การไม่ยึดเกาะพรมแดน (Ethnoscape) การแย่งชิงความหมายบนพื้นที่สื่อ (Mediascape) และพื้นที่การสร้างตัวตน (Ideoscape)      ดังนั้นการศึกษาในประเด็นการสื่อสารเชิงซ้อนในสังคมอาเซียน จึงเกี่ยวข้องกับมุมมองทางทฤษฎีการสื่อสารคือ 1) การศึกษาเทคนิคการผลิต (Technical Production) ไปสู่การศึกษาความหมายของผลผลิต (Meaning production) 2) การศึกษาการเปิดรับสื่อ (Media Exposure) ไปสู่การศึกษาการเปิดรับสาร (Message Exposure ) 3) การศึกษาการสะท้อนความเป็นจริงทางสังคม (Reflection of social reality) ไปสู่การศึกษาการประกอบสร้างความจริงทางสังคม (Construction of social reality) 4) การศึกษาความหมายแบบต่อเนื่อง (Meaning constantly) ไปสู่การศึกษาสัญญวิทยา (Semiology) และ 5)การศึกษาประเด็นพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science) ไปสู่การศึกษาประเด็นทางด้านวัฒนธรรม (Cultural studies) มากยิ่งขึ้น

 

Abstract

            Cooperation among countries in Southeast Asia as well . Association of South East Asian Nations: ASEAN to occur by the year 2558 has become an important area for research for knowledge of communication in society. This article is therefore to overview the theory of communications in Social and to be used to describe or predict the social aspects of the region 's diversity. The communications complexity in the Social of ASEAN to view among Mainstream of communication theory and Neo-critical of communication theory.

            Communications in ASEAN preliminary look at the model of communications is by David K. Berlo offering elements that is Sender, Message, Channel and Receiver.               In addition, ASEAN has to change directions in the various complexes. Into the Global Cultural Flow until the mix of cultures within ASEAN to meet the conflict to negotiation and the reassessed. This will cause the phenomenon of globalization, Local Governance and Policy Governance. Such as, Ethnoscape Mediascape and Ideoscape.

          Therefore, the study of complex communications issues in ASEAN . Pertain to the theoretical perspectives of communication are: 1) The study of Technical Production changes to Meaning production studies 2) The study of  Media Exposure changes to Message Exposure studies 3) The study Reflection of social reality changes to Construction of social reality studies 4) The study Meaning constantly changes to Semiology studies, and 5) The study of Behavioral science changes to Cultural studies even more.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ