นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed – method approach) คือมีทั้งวิจัย เชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อทราบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) เพื่อทราบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามขอบข่ายการบริหารงานของโรงเรียน 3) เพื่อยืนยันนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามขอบข่ายการบริหารงานของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14,523 โรงเรียน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 378 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียนประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 756 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ฐานนิยม (mode) และการทดสอบ ไค – สแควร์ (Chi-Square test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก พบว่ามีนวัตกรรมการบริหารในรูปแบบต่างๆ ทั้งหมด 53 นวัตกรรม
2. นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ตามขอบข่ายการบริหารงานของโรงเรียน พบว่า นวัตกรรมที่ถูกเลือกมากที่สุด คือ นวัตกรรมที่ 35 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาโดยมีความเห็นที่สอดคล้องกันคือเห็นด้วยกับผลงานวิจัยที่ผู้วิจัยนำเสนอ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดนโยบาย และเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก
Abstract
This research design used mixed – method approach (quantitative and qualitative research). The research purposes were to determine 1) the educational administration innovation for small primary schools 2) the educational administration innovation for small primary schools according to school administrative structure. 3) the confirmation of educational administration innovation for small primary schools according to school administrative structure. The population of this research was 14,523 small primary schools under the Office of Basic Education Commission. Multi-stage random sampling was used for sampling of 378 schools for this research. The respondents were 2 persons in each school; a school director and a teacher, totally 756 persons. The research instruments were two forms of survey and structured interview. The statistical used for data analysis were frequency, percentage, mode, and Chi-Square test.
The research findings revealed that:
- Educational administration innovations for the small primary schools were 53 innovations.
2. The 35th innovation (efficiency management) was the most selected of educational administration innovation for small primary schools according to school administrative structure.
3. The result of data analysis confirmed by jury of experts were consensus with this research conclusion and can be used as basic data to set policy, development guideline, and quality promotion of small schools.