การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ปัญหาทางสังคมของไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

อภิชัย เหล่าพิเดช

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบแผนการวิจัย แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลังเรียน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องปัญหาทางสังคมของไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน  2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  เรื่องปัญหาทางสังคมของไทย  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 52 คนที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  ของโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย  อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องปัญหาทางสังคมของไทยโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ  4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ()ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องปัญหาทางสังคมของไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2.  ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เรื่อง ปัญหาทางสังคมของไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

          3.       ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

Abstract

            This research  is pre - experimental with one group pre-test  post-test design. The objectives were 1) to compare learning achievement with regards to social problems in Thailand of Mathayomsuksa 6 students before and after implementation of problem-based learning approach. 2) to investigate creative problem solving abilities with regards to social problems in Thailand of Mathayomsuksa 6 students after implementation of problem-based learning approach. 3) to survey students’ satisfaction with the problem-based learning approach. The sample consisted of 52 students  from  Mathayomsuksa 6/1, Sarasit Phittayalai School, Banpong, Ratchaburi, second semester, academic year 2012, using simple random sampling technique with a classroom unit. The research instruments used were: 1) problem-based lesson plans regarding social problems in Thailand; 2) a test to measure learning achievement; 3) a test to measure creative problem solving abilities;  4) a satisfaction survey form toward problem-based learning approach. The percentage (%), mean (), standard deviation of items (S.D.), independent t-test and content analysis were used to analyze the data.

            The research findings were as follows:

            1. The average scores of learning achievement and creative problem solving abilities with regards to social problems in Thailand of Mathayomsuksa 6 students  in  the post-test were significantly higher than pre-test scores at  .05.

            2. The creative problem solving abilities with regards to social problems in Thailand of Mathayomsuksa 6 students using  problem-based learning was overall rated at a moderate level.

          3.       The Mathayomsuksa 6 students satisfaction toward the problem-based learning approach was overall at the highest level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ