เส้นทางสู่ฟาร์มสีเขียว : รูปแบบ กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม ภายในฟาร์มสุกรกาญจนบุรี ในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มสุกรและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมต่อชุมชนของฟาร์มสุกรกาญจนบุรี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)รวมถึงทัศนะของชุมชนและประโยชน์ที่ชุมชนได้รับโดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2556 ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อความจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่ดูแลรับผิดชอบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมหรือซีเอสอาร์ของฟาร์มสุกร คือ ผู้บริหารฟาร์มสุกร ผู้จัดการฟาร์มสุกร สัตวบาลประจำฟาร์มสุกร เจ้าหน้าที่สำนักระบบคุณภาพ รวมถึงสำรวจทัศนะของตัวแทนชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้ฟาร์มสุกรในรัศมี 1 กิโลเมตร
จากการศึกษาพบว่า ฟาร์มสุกรกาญจนบุรีมีรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยยึดนโยบายขององค์กรคือ องค์กรอยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้ จึงคำนึงถึงปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงสุกรได้แก่ กลิ่น น้ำเสีย กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมของฟาร์มสุกรเริ่มต้นที่ปัญหาเรื่องกลิ่น ฟาร์มสุกรกาญจนบุรีทำโรงเรือนเลี้ยงสุกรแบบปิด ท้ายโรงเรือนมีระบบฟอกอากาศหรือระบบ EVAP (Evaporative Cooling System) ปัญหาเรื่องน้ำเสียจัดการโดยสร้างส้วมน้ำเพื่อให้สุกรขับถ่ายและชะล้างน้ำเสียที่ผสมมูลสุกรให้ไหลลงท่อที่ฝังลงไปใต้ดินที่ความลึกประมาณ 3-4 เมตร เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน น้ำเสียและมูลสุกรจะถูกพาไปยังบ่อรวมน้ำเสียและปล่อยลงบ่อหมักแบบพลาสติกคลุมบ่อ (Covered Lagoon) ใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 45 วัน เพื่อให้เกิดก๊าซชีวภาพและนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและนำกระแสไฟฟ้ากลับมาใช้ภายในโรงเรือนประมาณร้อยละ 30-45 ช่วยลดการใช้ทรัพยากรพลังงานไปได้มาก กากมูลสุกรจากการหมักนำออกมาตากแห้งบนลานตากตะกอนและ ใช้เป็นปุ๋ยในการทำสวนภายในฟาร์ม น้ำเสียหลังการหมักและดูดก๊าซชีวภาพออกไปแล้วจะถูกนำกลับมาบำบัดด้วยการตกตะกอนและนำไปใช้รดน้ำ
ต้นไม้ภายในฟาร์มรวมถึงแจกจ่ายให้กับชุมชนที่อาศัยใกล้ฟาร์มสุกรและประกอบอาชีพทำไร่อ้อยนำไปใช้ในการทำไร่
ฟาร์มสุกรกาญจนบุรีมีรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมของฟาร์มสุกรกาญจนบุรีตามหลักการของฟิลิป คอตเลอร์และแนนซี่ ลี (อ้างถึงใน โกศล ดีศีลธรรม, 2554) (Philip Kotler and Nancy Lee) ได้แก่ (1) ดำเนินธุรกิจรับผิดชอบต่อสังคม (2) อาสาช่วยเหลือชุมชน และมีกระบวนการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของฟาร์มสุกรกาญจนบุรีแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ความรับผิดชอบภายใน เป็นการดูแลพนักงานให้มีความปลอดภัยในการทำงานและมีความสุขในการทำงาน รับฟังความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาร่วมกัน (2) ความรับผิดชอบภายนอก มีการสื่อสารกับชุมชนให้ทราบถึงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ฟาร์มดำเนินการ และรับฟังปัญหาข้อร้องเรียน ตลอดจนการขอความอนุเคราะห์งบประมาณและแรงงานในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน โดยสื่อสารผ่านทางผู้จัดการฟาร์มสุกรได้โดยตรง
ทัศนะของชุมชนต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์มสุกรกาญจนบุรี พบว่า ชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้ฟาร์มสุกรมากที่สุดได้รับประโยชน์จากการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ในการทำไร่อ้อย ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนปุ๋ยและน้ำไปได้มากและชุมชนมีความรู้สึกที่ดีต่อฟาร์มสุกรกาญจนบุรี เพราะการเข้ามาของฟาร์มสุกรกาญจนบุรีช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนใกล้เคียงให้ดีขึ้น
Abstract
The purpose of this research was to study model and process of Environmental Management of Swine Farm and Corporate Social Responsibility of Charoen Pokphand Foods Public Company Limited (CPF) in Kanchanaburi Province together with community attitudes and benefits gained. The data was collected from February to March 2013 by in-depth interview with Executive Director, Farm Manager, animal nourishing, ISO officer and representatives of community living within 1 kilometer from the farm.
From the study, we found that CPF Farm has a policy that the organization and community can live together and realize environmental issues such as bad smell and wastewater. In order to solve such problems, closed houses were built by installing Evaporative Cooling System (EVAP) at end of the houses and defecate area is provided so that wastewater and pig manure are going down to underground pipe at 3-4 meters depth for preventing bad smell and any insects before flowing into wastewater pond and covered lagoon. The fermentation is taken 45 days to form biogas for production of
electricity used in the houses around 30-45%. The dried pig manure can be used as fertilizer. Waste water is treated by sedimentation method before watering the farm. They are contributed to nearby community and sugar cane farm.
A model of corporate social responsibility of CPF farm according to Philip Kotler and Nancy Lee’s principle are (1) Socially Responsible Business Practices (2) Community Volunteer. The corporate social responsibility of CPF farm can be divided into 2 categories such as (1) Internal CSR : safety measure in workplace, employee health and well-being, employee survey (2) External CSR : communicating with the community about the process of environmental management and receiving the complaints as well as doing activity with the community. They can report to CPF Farm Manager directly.
A view of community towards environmental management of CPF farm was found that the community is satisfied and gains benefits such as using treated wastewater in sugar cane farm which help them save cost of fertilizer and water. Besides, the community feels good about CPF Farm because it can improve the quality of community’s life.