การจำลองระบบแถวคอยแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษา คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพัทลุง

Main Article Content

ปอแก้ว เรืองเพ็ง

Abstract

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบแถวคอยของการให้บริการ แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกอายุรกรรม  โรงพยาบาลพัทลุง จำนวน 3 งาน คือ งานเวชระเบียน งานตรวจโรค และงานเภสัชกรรม โดยทำการสร้างแบบจำลองระบบแถวคอยจากข้อมูลในระบบจริงด้วยโปรแกรม Arena เวอร์ชั่น 14 แล้ววิเคราะห์ผลตัววัดประสิทธิภาพจาก เวลาเฉลี่ยในระบบ เวลารอคอยเฉลี่ยแต่ละจุดให้บริการ และเปอร์เซ็นต์การว่างงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างแบบจำลองระบบใหม่

            ผลการศึกษาพบว่า สำหรับงานเวชระเบียนเมื่อมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนส่งตรวจ 1 คน ทำให้เวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในระบบโดยเฉลี่ยลดลงจากเดิมร้อยละ 70 สำหรับงานตรวจโรคเมื่อมีการเพิ่มแพทย์ 1 คนโดยเริ่มทำงาน 9:00 น. และเมื่อเพิ่มพยาบาลเขียนบัตรนัด/ใบสั่งยา 1 คน โดยเริ่มทำงาน 8:30 น. ทำให้เวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในระบบโดยเฉลี่ยลดลงจากเดิมร้อยละ 40 และสำหรับงานเภสัชกรรมมีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ นั่นคือ เพิ่มจำนวนเภสัชกรคัดกรอง 1 คน แล้วลดจำนวนเภสัชกรจ่ายยา/ให้คำแนะนำ 1 คน และเพิ่มจำนวนพนักงานเภสัชกรรมออกบัตรคิว 1 คน แล้วลดพนักงานเภสัชกรรมติดฉลากยา/จัดยา 1 คน ทำให้เวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในระบบโดยเฉลี่ยลดลงจากเดิมร้อยละ 29

 

Abstract

          This research is to study the queuing systems for outpatient service of the internal medicine at Phatthalung Hospital in three divisions: medical record division, outpatient division and pharmacy service division. The model of queuing system is simulated from the real data by program Arena version 14. Then, the efficiency indicators which are the average total time, average waiting time of the services and idle time percentage of officer, are analyzed to create the new simulation systems.

The results show that, by adding one officer at the register for sending patients in the medical record division, the average time of patients in this division is decreased by  70%. In outpatient division, by adding one physician working at 9:00 and adding one nurse (who makes appointment/writes prescription) working at 8:30, the average time of patients in this division is decreased by 40%. In pharmacy service division, the resources are allocated, that is, adding one pharmacist at screen point by dropping one pharmacist who dispenses/advises about medicine, and adding one pharmacist at the queue-card point by dropping one pharmacist who labels and packs medicine, the average time of patients in this division is decreased by 29%.

Article Details

Section
บทความ