การแยกสารประกอบฟีนอลิคและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระจากผลสบู่ดำดิบ

Main Article Content

อิสระวัฒน์ ฤทธนพงศธร

Abstract

บทคัดย่อ

          สบู่ดำ (Jathapha curcas Linn.) เป็นพืชอเนกประสงค์ที่อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งทางอุตสาหกรรมและด้านการแพทย์ สบู่ดำนั้นมีน้ำมันในเมล็ดที่สามารถผลิตน้ำมันดีเซลชีวภาพ และการวิเคราะห์ทางเคมียังแสดงให้เห็นว่าส่วนต่างๆ ของสบู่ดำยังมีองค์ประกอบทางเคมมีเป็นสารประเภท สารประกอบฟีนิอลิค ฟลาโวนอยด์  ซาโปนิน  และสารประกอบอัลคาลอยด์  ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย ได้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งจุลชีพ ต้านมะเร็ง ต้านการอักเสบ และต้านเนื้องอก เป็นต้น ซึ่งวัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิคจากผลสบู่ดำดิบ โดยการเปรียบเทียบจากปริมาณฟีนอลิคทั้งหมด ด้วยเทคนิค Folin- Ciocalteu แล้วคำนวณผลการทดลองเป็นค่า Gallic acid equivalent เทียบกับปริมาณตัวอย่าง จากผลการวิจัย พบว่าสภาวะในการสกัดสารประกอบฟีนอลิคจากผลสบู่ดำดิบคือ เมทานอลเข้มข้น 60% (v/v) ที่ pH≈ 2 อัตราส่วนของตัวอย่างต่อตัวทำละลายอินทรีย์คือ 1:100 ใช้เวลาในการสกัด 45 นาที หลังจากระดหยตัวทำละลายออกได้สารสกัดหยาบ หลังจากนั้น ทำการแยกส่วนประกอบของส่วนสกัดหยาบที่ได้ด้วยการสกัดด้วยวัฏภาคของแข็ง โดยใช้คาร์ทริดจ์ชนิด Hydrophilic lipophilic balance (HLB) เพื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของแต่ส่วนประกอบที่แยกได้ด้วยตัวทำลายละลายอินทรีย์ ได้แก่ เฮกเซน (F1) ไดคลอโรมีเทน (F2) คลอโรฟอร์ม (F3) เอทิลอะซีเตด (F4) และเมทานอล (F5) ตามลำดับด้วยเทคนิค 2, 2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) และ phenanthroline จากผลการทดลองของทั้งสองวิธี พบว่า F5 มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด ซึ่งได้ค่า IC50 = 0.04±0.02 ไมโครกรัมของสารสกัด และ 207.53±2.58 ไมโครโมลของเหล็กต่อน้ำหนักสารสกัด 1 กรัม ตามลำดับ

 

Abstract

          Jatropha curcas Linn. is a multipurpose plant in the Euphorbiaceae family, with several industrial and medicinal applications. J. curcas has been considered a potential source of seed oil for the production of biofuel. The phytochemical analyses have shown that different parts of J. curcas plant contain phenolic, flavonoid, saponin and alkaloid compounds due to their therapeutic potential as antioxidant,antimicrobial, anti-inflammatory and anticancer activities. The objective of this study was to optimized conditions for phenolic extraction from J. curcas Linn. raw fruit. The total phenolic contents in the extracts was determined spectrometric method according to the Folin-Ciocalteu procedure and calculated as Gallic acid equivalents (GAE). Methanol 60% (v/v) at pH ≈ 2 solid-to-solvent ratio with 1:100 and extraction time for 45 min were the optimum conditions for extraction of phenolic compounds. Under optimum conditions, the crude extract obtained was fractionated using a hydrophilic lipophilic balanced (HLB) cartridge and then eluted with different solvents in the order of hexane (F1), dichloromethane (F2), chloroform (F3), ethyl acetate (F3) and methanol (F5), respectively. Then, antioxidant activity of the crude extract under optimum conditions and its fractions were determined by phenanthroline (Phen) method and 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) free radical scavenging method. The result show F5 have highest antioxidant activity compare by value of DPPH and Phen method with IC50 = 0.04±0.02 µg of extract and 207.53±2.58 µmol Fe/g of extract, respectively.

Article Details

Section
บทความ