รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร
สายชล ปัญญชิต

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมโดยการมีส่วนร่วมของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมไทยปัจจุบัน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบของคณะสงฆ์ในการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคม สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมุ่งเน้นการผลักดันให้องค์กรคณะสงฆ์ในจังหวัดกลุ่มตัวอย่าง พัฒนาโครงการและทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้กระบวนการทำงานพัฒนาและเป้าหมายของโครงการพัฒนานั้น จะมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในองค์กรทางสังคม อีกทั้งส่งเสริมการบูรณาการองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาให้เกิดการเผยแผ่ในสังคมมากยิ่งขึ้น

                 ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมโดยการมีส่วนร่วมของคณะสงฆ์ พบว่า คณะสงฆ์ได้มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้หลักธรรม เพื่อส่งเสริมบทบาท หน้าที่และการบริหารกิจการคณะสงฆ์ที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 6 ประการ คือ การปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ การศึกษาสงเคราะห์ การสาธารณสงเคราะห์ และการสาธารณูปการสงเคราะห์ 2) ด้านการบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมไทยปัจจุบัน พบว่า แนวคิดและวิธีการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมเชิงพุทธ สามารถนำไปสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพฤติกรรมสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาจิตใจ ปัญญา และการสร้างพลังทางสังคมได้ 3) ด้านการพัฒนารูปแบบของคณะสงฆ์ในการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคม พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา สามารถพัฒนาบุคคลและสังคมตามหลัก “ภาวนา 4” คือ ประการที่หนึ่ง กายภาวนา มุ่งเน้นการพัฒนากาย การฝึกอบรมกายให้รู้จักเป็นระบบ ระเบียบ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเอง รวมทั้งเข้าใจระบบความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้เกิดความยั่งยืน

Abstract

                 The objectives of this research are: 1) study the applied of Buddhadham principle for well-being promotion and social learning base on Sangha organization participated 2) study the integrated of Buddhist principle and social development in Thai contemporary and 3) develop model of Sangha organization for well-being promotion and social learning base on Buddhist. This research used qualitative research methodology and action research, Focus on advance Sangha organization in representative sample provinces developed project and making a participatory with local government organization. In order that working process and main objectives of development projects emphasis social organization participation and support the Buddhist organization role to dissemination Buddhism in society.        

               The results are: Firstly the application of Buddhadham principle for well-being promotion and social learning base on Sangha organization participated found that Sangha organization emphasis used Dhamma principle to support obligation in Sangha administration particularly under the Sangha Act of 1941 mission that is administration, education, dissemination, subsidize education, public welfare and construction and renovation of temples; Secondly the integrated of Buddhist principle and social development in Thai contemporary found that concept and approach of well-being promotion and social learning base on Buddhist conduce toward develop local environment management, creatively well-being behavior also with mindfulness and wisdom develop; Third develop model of Sangha organization for well-being promotion and social learning base on Buddhist found that the model of well-being promotion and social learning base on Buddhist make to develop human and social rely on Bhavana4 .

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biographies

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สายชล ปัญญชิต

รองผู้จัดการโครงการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย