อิทธิพลของการจัดการดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธ์สุพรรณบุรี 1

Main Article Content

ณัฐพล บัวจันทร์

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาอิทธิพลของการจัดการดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ซึ่งในการศึกษานี้

ใช้ฟางข้าว ฟางข้าวเผาและปุ๋ยอินทรีย์ในการเตรียมดิน โดยใช้ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ปลูกในชุดดินกำแพงแสน ทำการทดลองแบบ CRD ประกอบด้วย 4 ตำรับทดลอง คือ 1) ดินธรรมดา 2) ดินใส่ฟางข้าวเผา 3) ดินใส่ฟางข้าวสับ และ 4) ดินใส่ปุ๋ยอินทรีย์ โดยศึกษาการเจริญเติบโตของข้าวตลอดฤดูกาลเพาะปลูกและปริมาณผลผลิตตลอดฤดูกาลเพาะปลูก และศึกษาคุณสมบัติของดิน ได้แก่ ค่าปฏิกิริยาดิน อินทรีวัตถุ อินทรีย์คาร์บอน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม คาร์บอนทั้งหมด ไนโตรเจนทั้งหมดและอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน หลังการเพาะปลูกและเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของดินก่อนการเพาะปลูก จากผลการศึกษาพบว่าข้าวที่เพาะปลูกในดินใส่ฟางข้าวเผามีความสูง จำนวนกอต่อกระถาง จำนวนใบต่อต้น จำนวนรวงต่อกระถาง น้ำหนักฟางข้าว น้ำหนักรากมากที่สุด รองลงมาคือ ดินใส่ฟางข้าวสับ ดินธรรมดาและดินอินทรีย์ ส่วนด้านผลผลิต พบว่าข้าวที่เพาะปลูกในดินใส่ฟางข้าวเผามีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 2,104.5 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามน้ำหนักของเมล็ดข้าวจากการเพาะปลูกในดินอินทรีย์นั้นมีน้ำหนักเมล็ดสูงที่สุด  จากผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าดินใส่ฟางข้าวเผาส่งผลให้การเจริญเติบโตของข้าวมากกว่าดินใส่ฟางข้าวสับ ดินธรรมดาและดินอินทรีย์ ตามลำดับ 

คำสำคัญ: การจัดการดิน, ข้าวพันธ์สุพรรณบุรี 1, ฟางข้าว

 

Abstract

            This study investigated effects of soil management on rice growth and rice

yield. Suphanburi 1 rice variety was planted in pot experiments by using Kampheang Sean soil series (Typic Haplustalfs). This experiment design by CRD with four treatments of soil preparation; 1) soil incorporated with dried rice straw (SDR), 2) soil incorporated 

with rice straw ash (SBR), 3) bare soil (BS) (without rice straw or rice straw ash), and 4) soil with organic fertilizer (SOF). Rice growth was observed throughout growing season. Rice grain yield was recorded after harvested. Soil properties included soil pH, %OM, %OC, P, K, Total C, Total N and C/N ratio were determined after growing season and compared with their properties before growing period. The results shown highest growth rate was observed from rice plated in SBR more than SDR, BS and SOF. The rice yield in SBR was highest  at 2,104.5 kilograms. While grain yield of the SOF has highest  weight. The results indicated that rice cultivation in the SBR promote rice growth better than SDR, BS, and SOF, respectively.

Keyword: soil management, suphanburi 1, rice straw

Article Details

Section
บทความ