บทความวิชาการ : ปฏิวัติโลกธุรกิจหลังสมัยใหม่ ด้วย “DESIGN”
Main Article Content
Abstract
บทนา
ผู้บริโภคในยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern) เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีคามเป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ชอบเหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน โหยหาธรรมชาติและกลิ่นอายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เป็นปัจเจกบุคคลสูง และต่างเริ่มแสวงหาบางสิ่งที่ท้าทาย และพิเศษออกไปนอกเหนือจากคาว่าประโยชน์ใช้สอยตามลักษณะของโมเดิร์นดีไซน์ (Modern Design)ที่เน้นออกแบบเพื่อการใช้สอยเป็นสาคัญ แต่ทว่าผู้บริโภคยุคหลังสมัยใหม่นี้ ให้ความสาคัญเรื่องตอบสนองต่อคุณค่าด้านอารมณ์ และความรู้สึกมากกว่า หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า “Emotional Benefits”
“คนไทยออกแบบ(Design)เก่งไม่แพ้ใครในโลก” โดยเฉพาะการออกแบบและการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีตอันเคยรุ่งเรืองของไทย ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศสิงค์โปร์ที่เจริญรุ่งเรืองในวันนี้ ในอดีตมีแต่เมือง กับทรายและรายล้อมด้วยทะเลอันเวิ้งว้างว่างเปล่า ต่างกับประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรตระการตาดุจเทพรังสรรค์อย่างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยเป็นฝีมือการสรรค์สร้างและออกแบบโดยคนไทยล้วน ๆ ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเดียวในโลกก็ว่าได้ ที่มีการแต่งแต้มสีสันมากกว่า 10 สี ภายในอาคารหลังเดียวกัน แต่มองโดยภาพรวมกลับดูสวยงาม และสูงส่ง
งานออกแบบของดีไซเนอร์ไทย(นักออกแบบทุกแขนง)ที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่มีความโดดเด่น และมีเอกลักษณ์ ได้รับการยอมรับ ในแวดวงการออกแบบโลกอย่างน่าชื่นชม ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม งานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ งานด้านออกแบบแฟชั่น ที่หาตัวจับยาก ขณะเดียวกันผลการสารวจจากธนาคารโลกเกี่ยวกับความยากง่ายในการทาธุรกิจ ของแต่ละประเทศปรากฏว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความง่ายและความสะดวกในการประกอบธุรกิจ อันดับที่ 18 ของโลก(International Bank for Reconstruction and Development,2012) สะท้อนถึงความสนใจของนักลงทุนต่างประเทศ และอาจมีแนวโน้มว่า คู่แข่งในธุรกิจด้านการออกแบบ ที่มีจุดแข็งเรื่องของดีไซน์ อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี่ กาลังมองมายังตลาดในประเทศไทย ผลสารวจนี้เป็นแหมือนสัญญาณเตือนว่า นักธุรกิจด้านการออกแบบ และนักออกแบบไทยว่าควรจะปฏิวัติเกี่ยวกับธุรกิจของตัวเอง เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ และความอยู่รอดของประเทศไทย อีกประการหนึ่งที่เป็นสัญญาณเตือนเรื่องการออกแบบและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากสถาบันจัดอันดับในต่างประเทศซึ่งได้มีการกาหนดตาแหน่งของความคิด
สร้างสรรค์ โดยการจัดทาอันดับ (Ranking) ว่าในแต่ละประเทศ มีการปรับปรุงประสิทธภาพการผลิต ( Productive) หรือมีการแข่งขันด้านความคิดสร้างสรรค์ อันดับที่เท่าไร ซึ่งการจัดอันดับเมื่อปี 2006 ประเทศไทยของเรา อยู่ในลาดับที่ 41 แต่ต่อมาปี 2010 ปรากฏว่า อันดับกลับถอยหลังไปอยู่อันดับที่ 43 และมีแนวโน้มว่าจะถอยหลังไปอีก หากยังไม่คิดทาอะไร
ผลสารวจจากสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นกระจกสะท้อนและประเมินว่าอุตสาหกรรมการออกแบบของประเทศไทยเอาใจใส่กับผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงใด ตอบสนองในแง่ของประโยชน์ใช้สอย(Function) และอารมณ์ความรู้สึก(Emotion) มากน้อยเพียงใด จะเห็นได้จากการจัดอันดับด้านความคิดสร้างสรรค์ของประเทศไทยว่ามีอันดับตกต่าลง โดยมีเพียงเรื่องเดียวที่เป็นจุดเด่นของประเทศเรา นั่นคือ ความสามารถด้านการบริการ และการต้อนรับ (Hospitality) แต่ในเชิงของนวัตกรรม(Innovation) ความคิดสร้างสรรค์(Creative) และ การออกแบบ(Design) กลับตกต่ากว่าเดิม