บทความวิชาการ : สัญญะที่ปรากฏในงานออกแบบนิเทศศิลป์กับการสะท้อนวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่

Main Article Content

ชาตรี บัวคลี่

Abstract

บทนา
การเปลี่ยนแปลงโลกสมัยใหม่ ในยุคศตวรรษที่ 21 ทาให้เกิดการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดน ส่งผลให้เกิดการทาลายกาแพงแห่งวัฒนธรรม เกิดการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย และหลอมรวมเข้าด้วยกัน กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ ที่ทุกแห่งหนของสถานที่บนโลกต่างมีความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน ส่งผลให้คนในสังคมเกิดการคิดย้อนกลับและตั้งคาถามวิพากษ์ความเชื่อแบบเก่า ผู้คนเริ่มหันมาสนใจสิ่งที่เป็นความหลากหลายและความสลับซับซ้อนทางวัฒนธรรม ณ ช่วงเวลาหนึ่งเราเคยเข้าใจว่า มนุษย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล เราอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างและพยายามจะเอาชนะธรรมชาติ แต่ในยุคหลังสมัยนี้ กลับเป็นยุกที่ผกผันกับความเชื่อและคติแบบเก่าๆ เพราะมนุษย์ในยุคหลังสมัยใหม่ได้รับความบอบช้าจากภัยธรรมชาติ และเริ่มตระหนักถึงศักยภาพของตนเองว่าสามารถเอาชนะธรรมชาติได้จริงหรือ ในยุคหลังสมัยใหม่นี้มนุษย์เกิดการตระหนักถึงความบอบช้าของธรรมชาติมากขึ้น เอาใจใส่ถึงสิทธิและเสรีภาพ ให้ความเคารพในการตัดสินใจและความคิดเห็นที่ขัดแย้ง ยังผลให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ กลุ่มใหม่ ๆ อย่างมากมายในสังคมวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ ที่โยงใยไปสู่โลกหลังสมัยใหม่ได้ส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจและสังคม ทาให้เกิดอานาจใหม่อันเกิดขึ้นจากการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เข้าไปมีบทบาทกับวิถีชีวิตของคนในสังคมยุคหลังสมัยใหม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสื่อสารเข้าไปมีบทบาทต่อทุกสิ่งทุกอย่างของกระบวนการติดต่อสื่อสารเกือบทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่ออิทธิพลของการเผยแพร่และขยายวัฒนธรรม สื่อและศิลปะการออกแบบสื่อเป็นอย่างยิ่ง
วัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ (Post Modern Culture) เป็นคาที่ใช้เรียกในแวดวงวิชาการ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1918 ในงานเขียนชื่อ Architecture and Spirit of Man โดยเป็นงานเขียนของสถาปนิกที่ชื่อ ชาร์ลส์ เจนส์ (Chailles Jencks) เพื่อนาเสนอและสะท้อนแนวความคิดใหม่ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม โดยแนวคิดนี้มีใจความสาคัญคือ “การไม่ยอมรับความยึดติดกับรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งและปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงในแนวคิดแบบสมัยใหม่ (Modern) นั่นคือ แนวคิดหลังสมัยใหม่ไม่ยึดติดกับหลักเกณฑ์ ไม่สนใจหลักการใดหลักการหนึ่งเป็นพิเศษ ปฏิเสธการออกแบบที่มุ่งเน้นไปที่การใช้งาน (Function) แบบสมัยใหม่ แต่ให้ความสนใจทั้งมิติของการตอบสนองด้านอารมณ์ (Emotion) ด้านการใช้งาน (Function) และการบูรณาการภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น เพื่อการเข้าสู่ความเป็นสากล

สังคมแบบหลังสมัยใหม่ เป็นสังคมที่ค่อนข้างมีความหลากหลายทั้งด้านความคิด ความเชื่อ และศิลปวัฒณธรรม รวมทั้งเป็นการผสมผสานสิ่งต่าง ๆ ไว้ด้วยกันอย่างเป็นบริบท ในด้านวรรณคดีความเชื่อหลังสมัยใหม่ไม่ยอมรับการจัดประเภทของงานวรรณกรรม ในด้านประวัติศาสตร์ความเชื่อแบบหลังสมัยใหม่ เชื่อว่า เรื่องราวในอดีตไม่ใช่ความจริงทั้งหมด นอกจากนี้แล้วความเชื่อแบบหลังสมัยใหม่ ยังส่งอิทธิพลถึงวงการศิลปะ ทัศนศิลป์ งานออกแบบ วรรณกรรม ออกแบบกราฟิก แฟชั่น รวมทั้งงานออกแบบนิเทศศิลป์ สิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้เป็นการสร้างกระบวนการทางความคิด บนพื้นฐานความหลากหลาย และความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ดาเนินการและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ